HOME / Article

บทความ


พระราชสัญลักษณ์ ประดับบนผ้าทิพย์พระพุทธอาสน์ พระพุทธเทวปฏิมากร

พระราชสัญลักษณ์ ประดับบนผ้าทิพย์พระพุทธอาสน์ พระพุทธเทวปฏิมากร

พระราชสัญลักษณ์ ประดับบนผ้าทิพย์พระพุทธอาสน์ พระพุทธเทวปฏิมากร
ซึ่งบรรจุพระบรมอัฐิพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช

 ตรามหาอุณาโลม เป็นตราประจำ รัชกาลพระบาทสมเด็จพระ พุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช หรือเป็นภาพพระเกตุมาลา ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ ของโลกุตตรอยู่ในดอกปทุม อาจเรียกว่า ปทุมอุณาโลม ดอกบัวหรือปทุม หมายถึง พระพุทธเจ้า แสดงให้เห็นว่าพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้า จุฬาโลกมหาราช ทรงปรารถนาสัมมาสัมโพธิญาณ สมดังความปรากฏ ในศิลาจารึกวัดพระเชตุพน ครั้งรัชกาลที่ ๑

พญานาค สันนิษฐานว่า เป็นปีมะโรง ซึ่งเป็นปีพระบรมราชสมภพ ในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช

ช้าง สันนิษฐานว่า เป็นช้างเผือกในรัชกาลพระบาทสมเด็จ พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ตามพระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ ฉบับเจ้าพระยาทิพากรวงศมหาโกษาธิบดี ระบุว่า ในรัชกาลที่ ๑ ได้มี ช้างเผือกมาสู่พระบารมี ๑๐ ช้าง

หนู สันนิษฐานว่า เป็นปีชวด ซึ่งเป็นปีพระบรมราชสมภพ ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งโปรดเกล้าฯ ให้อัญเชิญ พระบรมอัฐิพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช มาประดิษฐาน ไว้ที่พระพุทธอาสน์พระพุทธเทวปฏิมากร พระประธานในพระอุโบสถ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม

26927 VIEW | 08/12/2561
วัดพระเชตุพน


แม่ซื้อ : เทวดาผู้คุ้มครองเด็กทารก

แม่ซื้อ : เทวดาผู้คุ้มครองเด็กทารก

แม่ซื้อ : เทวดาผู้คุ้มครองเด็กทารก

โดย ก่องแก้ว วีระประจักษ์

ผู้เชี่ยวชาญด้านภาษาโบราณ ข้าราชการบำ นาญ กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม

-----------------------------------------------

    ณ ศาลาหน้าพระมหาเจดีย์ด้านทิศใต้ของวัดพระเชตุพน วิมลมังคลาราม หรือวัดโพธิ์ ปรากฏจารึกและภาพจิตรกรรมฝาผนัง เกี่ยวกับแม่ซื้อ สถานที่แห่งนี้จึงมีชื่อเรียกขานกันทั่วไปว่า ศาลาแม่ซื้อ

   เรื่องแม่ซื้อ เป็นความเชื่อของคนในสมัยโบราณ ยุคสมัยที่การแพทย์ ยังไม่เจริญก้าวหน้าเหมือนทุกวันนี้ ทารกแรกเกิดมักมีโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ ซึ่งส่วนใหญ่มักจะเสียชีวิตตั้งแต่เป็นทารก เป็นผลให้เกิดความเชื่อกันว่า มนุษย์ที่จะเกิดมานั้นผีปั้นรูปขึ้นก่อน แล้วจึงหาวิญญาณใส่เข้าในหุ่นนั้น เพื่อสิงเข้าสู่ครรภ์มารดา และเมื่อทารกเกิดแล้วตายแต่แรกคลอด ก็เป็น เพราะผีผู้ปั้นหุ่นเห็นว่า ทารกนั้นงามชอบใจอยากเอาไปเลี้ยง จึงทำ ให้เด็ก ตายในที่สุด ส่วนทารกที่ไม่ชอบก็ปล่อยให้มนุษย์เลี้ยงเอง ตามความเชื่อนี้ เป็นผลให้เกิดพิธีกรรมต่างๆ เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้ผีนำ ทารกกลับคืนไป เช่น ลวงผีให้เข้าใจว่าทารกนั้นไม่น่ารัก โดยติว่าน่าเกลียดน่าชัง หรือเรียก ชื่อว่า เหม็น เป็นต้น กับยังมีการให้ผู้อื่นรับซื้อเด็กไป เพื่อให้ผีเข้าใจว่า แม้แต่แม่ยังไม่รัก ไม่อยากได้ไว้ ผู้ที่ซื้อเด็กจึงมีชื่อเรียกว่า แม่ซื้อ

   แม่ซื้อเป็นคำ เรียกเทวดา หรือผีที่เชื่อว่าอยู่ประจำ ตัวเด็กทารก ตั้งแต่แรกคลอดจากครรภ์มารดา ทำ หน้าที่คอยดูแลปกปักรักษา ป้องกัน หลอกหลอน หรือเย้าแหย่ ตามแต่ลักษณะของแม่ซื้อที่อยู่กับเด็กทารก ในวันทั้งเจ็ด นับแต่แรกคลอดออกจากครรภ์มารดาจนถึงอายุ ๑๒ เดือนหรือ ๑ ขวบ แม่ซื้อจึงจะไปจากเด็กนั้น แม่ซื้อทั้งเจ็ดมีที่สถิตอยู่ในเมืองบน (คือ เมืองสวรรค์) เมืองล่าง (คือ พื้นโลก หรือ แผ่นดิน) และกลางหน (คือ ระหว่างสวรรค์ กับพื้นโลก หรือ ท่ามกลางอากาศ คือ ท้องฟ้า) 

   ในคัมภีร์ปฐมจินดาซึ่งเป็นคัมภีร์หนึ่งในกลุ่มตำ ราแพทย์แผนไทย กล่าวถึงแม่ซื้อความตอนหนึ่งว่า หากนำ รกของเด็กทารกไปฝังไว้ยังที่อยู่ ของแม่ซื้อจะทำ ให้แม่ซื้อรักใคร่เอ็นดู ปกปักรักษา เล่นหยอกล้อด้วย หาก ไม่เช่นนั้น แม่ซื้อก็จะหลอกหลอนให้เด็กตกใจ ร้องไห้ โยเย เจ็บไข้บ่อยๆ แม่ซื้อทั้งเจ็ดนี้มีนาม รูปร่างลักษณะ และที่อยู่อาศัยแตกต่างกัน ดังนี้

แม่ซื้อประจำ เด็กเกิดวันอาทิตย์ ชื่อ วิจิตรนาวรรณ รูปตัวเป็นคน ศีรษะเป็นราชสีห์ มีถิ่นอาศัยอยู่บนจอมปลวก ถ้าฝังรกเด็กไว้ที่จอมปลวก จึงจะดี

แม่ซื้อประจำ เด็กเกิดวันจันทร์ ชื่อ วรรณานงคราญ บางตำ ราว่า ชื่อ นางมัณฑนานงคราญ รูปตัวเป็นคน ศีรษะเป็นม้า มีถิ่นอาศัยอยู่ที่ บ่อนํ้า ถ้าฝังรกเด็กไว้ที่ริมบ่อนํ้าจึงจะดี

แม่ซื้อประจำ เด็กเกิดวันอังคาร ชื่อ นางยักษ์บริสุทธิ์ รูปตัวเป็นคน ศีรษะเป็นควาย มีถิ่นอาศัยอยู่ที่ศาลเทพารักษ์ ถ้าฝังรกเด็กไว้ที่ใกล้ศาล เทพารักษ์จึงจะดี

แม่ซื้อประจำ เด็กเกิดวันพุธ ชื่อ นางสามลทรรศน์ บางตำ ราว่าชื่อ นางสมุทชาต รูปตัวเป็นคน ศีรษะเป็นช้าง บางตำ ราว่าศีรษะเป็นวัว มีถิ่น อาศัยอยู่ที่ต้นพระศรีมหาโพธิ์ ถ้าฝังรกเด็กไว้ที่โคนต้นพระศรีมหาโพธิ์จึงจะดี

แม่ซื้อประจำ เด็กเกิดวันพฤหัสบดี ชื่อ นางกาโลทุกข์ รูปตัวเป็นคน ศีรษะเป็นกวาง มีถิ่นอาศัยอยู่ที่สระนํ้า หรือบ่อนํ้าใหญ่ ถ้าฝังรกเด็กไว้ที่ ขอบสระนํ้าจึงจะดี

แม่ซื้อประจำ เด็กเกิดวันศุกร์ ชื่อ นางยักษ์นงเยาว์ รูปตัวเป็นคน ศีรษะเป็นวัว มีถิ่นอาศัยอยู่ที่ต้นไทรใหญ่ ถ้าฝังรกเด็กไว้ที่โคนต้นไทรใหญ่ จึงจะดี

แม่ซื้อประจำ เด็กเกิดวันเสาร์ ชื่อ นางเอกาไลย รูปตัวเป็นคน ศีรษะ เป็นเสือ มีถิ่นอาศัยอยู่ที่ศาลพระภูมิ ถ้าฝังรกเด็กไว้ที่ใกล้ศาลพระภูมิจึงจะดี

นอกจากนี้คำ ว่า แม่ซื้อ ยังเป็นชื่อโรคที่เกิดแก่เด็กทารกตั้งแต่ แรกคลอดจากครรภ์มารดา จนถึงอายุได้ ๑๒ เดือน ลักษณะอาการของ โรคแม่ซื้อมีชื่อเรียกและอาการของโรคแตกต่างกัน ๔ ประการ คือ

๑. ปักษีหรือ ปีศาจ อาการของโรคเกิดเป็นพิษไข้จับ แล้วมีเวลา สร่าง จำแนกได้ ๔ ชนิด คือ

นนทปักษี ไข้จับเวลาเช้า สร่างเวลาคํ่า

กาฬปักษี ไข้จับเวลาคํ่า สร่างเวลาเช้ามืด

อสุนนทปักษี ไข้จับเวลาเที่ยงวัน สร่างเวลาเที่ยงคืน

เทพปักษี ไข้จับเวลาเย็น สร่างเวลาเช้าก่อนพระอาทิตย์ขึ้น

๒. ลำบองราหู อาการของโรคมีลักษณะแตกต่างกันตามอายุ ของเด็ก กำ หนดตั้งแต่เด็กมีอายุได้ ๑ เดือน จนถึง ๑๒ เดือน อาการโรค มีต่างๆ กัน ดังนี้

ลำ บองราหู เกิดเมื่ออายุได้ ๑ เดือน อาการเมื่อแรกจับ มีผื่นขึ้น ทั้งตัว พิษของเม็ดผื่นนั้น ทำ ให้เจ็บไปทุกขุมขน ขนชูชัน นอนสะดุ้ง ร้องไห้ หานํ้าตามิได้ เป็นต้น

ลำบองราหู เกิดเมื่ออายุได้ ๒ เดือน อาการเมื่อแรกจับ ทำ ให้ เจ็บคอ อ้าปากร้อง กลืนอาหารไม่ได้ เป็นต้น

ลำบองราหู เกิดเมื่ออายุได้ ๓ เดือน อาการเมื่อแรกจับ ทำ ให้ ท้องขึ้น ท้องพองเหลือกำ หนด อึดอัด หายใจไม่สะดวก ร้องไห้ดิ้นรนอยู่ ดังจะขาดใจ เป็นต้น

ลำบองราหู เกิดเมื่ออายุได้ ๔ เดือน อาการเมื่อแรกจับ นัยน์ตา จะเหลือง ให้กำ มือเคลื่อนไหวร่างกายไม่ได้ แข็งกระด้างเกร็งไปทั้งตัว เป็นต้น

ลำบองราหู เกิดเมื่ออายุได้ ๕ เดือน อาการเมื่อแรกจับ มีไข้ ตัวร้อน ท้องขึ้น ท้องพอง เป็นต้น

ลำบองราหู เกิดเมื่ออายุได้ ๖ เดือน อาการเมื่อแรกจับ มือเท้า เย็น ท้องขึ้น ตาเหลือง หลังแข็ง เป็นต้น

ลำบองราหู เกิดเมื่ออายุได้ ๗ เดือน อาการเมื่อแรกจับจะบิดตัว นัยน์ตาเหลือกขึ้นบน มือกำ เท้างอ เป็นต้น

ลำบองราหู เกิดเมื่ออายุได้ ๘ เดือน อาการเมื่อแรกจับ มีไข้ ปากเปื่อย ยิงฟันเป็นนิจ เบื่ออาหาร เป็นต้น

ลำบองราหู เกิดเมื่ออายุได้ ๙ เดือน อาการเมื่อแรกจับ หนาว สะท้าน หดมือ หดเท้า เป็นต้น

ลำบองราหู เกิดเมื่ออายุได้ ๑๐ เดือน อาการเมื่อแรกจับ มีไข้ ตัวร้อนจัด นอนสะดุ้งผวา ร้องไห้ไม่หยุด เป็นต้น

ลำบองราหู เกิดเมื่ออายุได้ ๑๑ เดือน อาการเมื่อแรกจับ มีไข้ ตัวร้อน มีเม็ดพิษขึ้นที่ราวนม และรักแร้ ทำ ให้ร้องไห้ดิ้นรน กางแขนอ้ารักแร้ อยู่ตลอดเวลา เป็นต้น

ลำบองราหู เกิดเมื่ออายุได้ ๑๒ เดือน อาการเมื่อแรกจับ เป็นไข้ ชัก ตัวเย็น เป็นเหน็บ ร้องไห้ไม่ออก หมดสติ เป็นต้น

๓. อัคคมุขี อาการของโรคเกิดพิษไข้ตัวร้อน ท้องขึ้น อาเจียน ชักมือกำ เท้างอ เป็นต้น

๔. สะพั้น หรือ ตะพั้น อาการของโรคเกิดพิษไข้ตัวเย็นจัด ท้องขึ้น อาเจียน ชักมือกำ เท้างอ เป็นต้น

ความรู้ความเชื่อเกี่ยวกับเรื่องแม่ซื้อ ล้วนเป็นภูมิปัญญาของ บรรพชนไทย ในอดีตที่ได้จรรโลงสร้างสรรค์เป็นมรดกของชาติให้แก่อนุชน รุ่นหลัง ดังนั้นจึงเป็นหน้าที่ของคนไทยทุกคนที่จะร่วมกันอนุรักษ์ไว้ให้คงอยู่ คู่กับบ้านเมืองสืบไป

 

 

 

๏ ชาฎกนิทานถ้วน ทวาทศ เรื่องฤๅ

อีกรูปแม่ซื้อรจ   เรขไว้

กุมารก็มีหมด หมายโรค

สิ่งละสิบสี่ให้ แพทย์รู้ดูแผน ฯ

๏ สิบสองละบองบอกเบื้อง แบบครู

แสดงรูปเรียกราหู ทั่วท้งง

จัตุราทิศภาพดู หลายหลาก

คนต่างวางปัดต้งง แต่งเส้นส่งแสลง ฯ

 

โคลงดั้นเรื่องปฏิสังขรณ์วัดพระเชตุพน

พระนิพนธ์สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส

 

 

39697 VIEW | 07/12/2561
วัดพระเชตุพน


คนต่างภาษาวัดโพธิ์

คนต่างภาษาวัดโพธิ์

โคลงภาพคนต่างภาษา

โดย อรวรรณ ทรัพย์พลอย

นักอักษรศาสตร์ชำ นาญการพิเศษ สำ นักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม

--------------------------------------

 เรื่องโคลงภาพคนต่างภาษา เป็นหนึ่งในจารึกวัดโพธิ์ที่พระบาทสมเด็จ พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ปลูกฝัง ความรู้แก่ราษฎรในช่วงเวลาที่สังคมไทยกำ ลังเปิดประตูการค้ากับคน ต่างชาติต่างภาษา จึงเป็นภาพสะท้อนถึงความสัมพันธ์ระหว่างไทย กับนานาชาติ เหตุนี้ โคลงภาพคนต่างภาษาจึงเป็นการประมวลความรู้ เกี่ยวกับกลุ่มคนชาติต่างๆ นับได้ว่าเป็นงานเขียนเชิงชาติพันธุ์วรรณนา (ethnography) ชิ้นแรกของไทย

 กล่าวได้ว่า หนังสือชุด ภูมิศาสตร์วัดโพธิ์ (มีจำ นวน ๓ เล่ม) ของ กาญจนาคพันธุ์ (คือ ขุนวิจิตรมาตรา นามเดิมว่า สง่า กาญจนาคพันธุ์) เป็นงานบุกเบิกรุ่นแรกที่ศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับโคลงภาพคนต่างภาษา ซึ่ง ผู้เขียนได้สอบค้นถึงภูมิหลังของคนต่างภาษา ทั้ง ๓๒ ชาติ ตั้งแต่ต้นจนถึง สมัยที่มาเกี่ยวข้องกับไทย ผู้อ่านจะได้อรรถรสทั้งทางด้านประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณีต่างๆ ถือเป็นงานค้นคว้าที่มีคุณค่า และยังประโยชน์ต่อการศึกษาค้นคว้าของอนุชนรุ่นหลังอยู่มาก

 โคลงภาพคนต่างภาษา จารึกเป็นโคลงจำ นวน ๖๕ บท ว่าด้วย ชนชาติต่างๆ รวม ๓๒ ภาษา ประกอบรูปหล่ออยู่ตามศาลาราย จำ นวน ๑๖ หลัง โคลงภาพคนต่างภาษา ๑ ชาติ ประกอบด้วยโคลง ๒ บท อธิบายถึงลักษณะเอกลักษณ์ของแต่ละชาติภาษา ทั้งลักษณะการแต่งกาย (เสื้อผ้า เครื่องประดับ ทรงผม) รูปร่างเชิงกายภาพ (ผิวขาว ผิวดำ หรือ ผมหยิก) ความรู้ความสามารถ (เชี่ยวชาญการเดินเรือ การเดินป่า) ความเชื่อ หรือศาสนา (พุทธ คริสต์ อิสลาม) ถิ่นที่อยู่อาศัย และภูมิอากาศ ตลอดจน ลักษณะพิเศษบางประการเกี่ยวกับขนบธรรมเนียมประเพณีของชาติ เหล่านั้น

  โคลงภาพคนต่างภาษา ประกอบด้วยผู้แต่ง จำ นวน ๑๕ คน คือ

๑. กรมหมื่นนุชิตชิโนรส

๒. จ่าจิตรนุกูล

๓. พระญาณปริยัติ

๔. ขุนธนสิทธิ์

๕. พระมุนีนายก

๖. กรมขุนเดชอดิศร

๗. กรมหมื่นไกรสรวิชิต

๘. หลวงชาญภูเบศร์

๙. ขุนมหาสิทธิโวหาร

๑๐. พระสมบัติบาล

๑๑. พระยาบำ เรอบริรักษ์

๑๒. หลวงศรีอัศวเดช

๑๓. ปลัดวัดโมลีโลก

๑๔. พระเทพกระวี

๑๕. หลวงลิขิตปรีชา

      เนื้อหาของโคลงภาพคนต่างภาษาเป็นการพรรณนาถึงคนชาติ ภาษาต่างๆ รวม ๓๒ ภาษา ทวีศักดิ์ เผือกสม ได้ศึกษาวิจัยและสรุปความ เกี่ยวกับโคลงภาพคนต่างภาษาใน คนแปลกหน้านานาชาติของกรุงสยาม ดังนี

๑. สิงหฬ : ตำ นานการตั้งเมืองของชาวสิงหล, สวมใส่เสื้อผ้า สีขาวล้วน และใช้ผ้ายาวถึง ๒๐ ศอก [กรมหมื่นนุชิตชิโนรส]

๒. ไทย : อยู่เมืองอโยธยาที่ยิ่งใหญ่น่าเกรงขาม, สวมใส่เสื้อผ้า งดงาม ราวกับมีเทวดามาตัดเย็บให้, สวมเสื้อสวยงาม นุ่งผ้า “ปูม” คาดพุง และอะไรๆ ก็ดูดีไปหมด [กรมหมื่นนุชิตชิโนรส]

๓. กะเหรี่ยง : สวมเสื้อ, สวมสร้อยลูกปัด, เป็นคนรักษา/ตรวจด่าน (ชายแดน), บ้านเรือนอยู่ตาม “ตรอกห้วย หุบดง” [จ่าจิตรนุกูล]

๔. อาฟริกัน : ผมหยาบหยิก-ผมเงาะ (หัวพริกหยิกหยาบเผ้า ผมเงาะ), ปากแสยะยิงฟัน ดูน่า “ขัน” เป็นบ้า “เบื้อ”, ถิ่นฐานบนเกาะแอฟริกา, ผิวดำ เป็น “เขม่า” เป็นพวก “โฉดชาติ”, สวมกางเกงลาย “สุหรัด” ใส่เสื้อ สีขาว, พับผ้าเช็ดหน้าเป็นจีบ “คาดเอว”, สวมเครื่องแต่งกายไม่แยกเพศ [จ่าจิตรนุกูล]

๕. ดอดชิ [Dutch] : เชี่ยวชาญการเดินทะเล, นับถือพระเยซูคริสต์ ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นผู้สร้างโลก (ลัทธิมั่นเหลือจน สุดมล้าง), สวมเสื้อกางเกง เหมือนคนอังกฤษ, อยู่เมือง “เนื่องวิลันดาฟาก ใต้แฮ”, เชื้อชาติ “ดอดชิ” [พระญาณปริยัติ]

๖. อิตาเลียน : เครื่องแต่งกายเหมือนคนอังกฤษ, “ทำ เนียบเทียบ เชื้อใช้ เช่นกัน”, ประเทศอยู่ทางใต้ของดินแดนชายฝั่งตะวันตก, ไพร่พล ห้าวหาญ [ขุนธนสิทธิ์]

๗. ฝรั่งเศส : สวมเสื้อดำ มีอินทรธนูทอง, กางเกงกลัดกระดุม เคลือบทอง, ห้อยนาฬิกา, ประเทศอยู่ใกล้เคียงกับอังกฤษ, บ้านเมืองของ “ฝรันชิ” [France] ใหญ่โตมาก, มีทหาร “ซิบป่าย” [Sepoy?] รักษาด่าน, มีประชากรจำ นวนมาก [พระมุนีนายก]

๘. ยิบเซ็ดอ่าน [Egyptian?] : ธรรมเนียม (ทำ เนียบทำ นอง) แบบ เดียวกับคนอังกฤษ, สวมเสื้อใส่หมวก “พลิกแพลงแปลงยักดัด ประดิษฐ์แฮ”, อาศัยอยู่ใน “ทวีปแว่นแคว้นใต้ ตํ่าชวา (?)”, ชำ นาญการเดินเรือ, เป็นพวกมิจฉาทิฐิที่เห็นว่าโลกหมุนรอบดวงอาทิตย์ (ทฤษฐิสาหัสเห็น กระด้าง/ ถือว่าทิวากร สถิตย์ที่ เดียวพ่อ / แผ่นภพหมุนคว้างปิ่ม ปั่นไน) [ขุนธนสิทธิ์]

๙. สะระกาฉวน [Saracen?] : ใจกล้าหาญ, ใช้เรือกำ ปั่น “สลุป สามเสา”, เชี่ยวชาญ-เฟื่องฟูในเรื่อง “วัดแดดดิ่ง นํ้าฟ้า”, อาศัยอยู่ใน “อินเดีย ทวีป” ที่เมือง “สระกาเซียเกษตร”, มีทหาร “ซิบป่าย” เพียบพร้อมด้วย ปืนรักษาป้อม [กรมขุนเดชอดิศร]

๑๐. ยี่ปุ่น : ไว้ทรงผม “สองแหยมหยุกหยุย”, ใช้เสื้อผ้า “ต่างสี”, อาศัยอยู่ที่ “เกาะยี่ปุ่น”, ชำ นาญการช่าง “แปดด้าน” อาทิ ผลิตดาบ “เงางาม ปลาบ”, “ป้าน [นํ้าชา]”, และ “ปิ่นโต” [กรมขุนเดชอดิศร]

๑๑. อาหรับ : สวมเสื้อขาวกรอมเท้า, กางเกง “วิลาศลาย”, “จีบจะ ดัดเกี้ยวเกล้า ต่างสี”, นับถือศาสนาอิสลาม นิกายชีอะห์, ในช่วงเทศกาล “ฮุเซ็น” เปลี่ยนมาใช้เครื่องแต่งตัวสีดำ ลุยเพลิงกรีดเลือดบนศีรษะ และ “เต้นตบอกเร้าร้อง รํ่าเซ็น [ชีอะห์]” [กรมหมื่นไกรสรวิชิต]

๑๒. หรุ่มโต้ระกี่ [Turk] :ชอบกินนม - เนยวัว, ไม่กินหมู, ไว้หนวด เครา “รกรอบแก้ม”, จมูกโด่งยาว “แหลม เฟือดฟ้า”, รูปร่างสูงใหญ่ลํ่า, ใจกล้าชอบเดินทางท่องเที่ยว [กรมหมื่นไกรสรวิชิต]

๑๓. แขกปะถ่าน [Pathan] : แขกปาทานเป็นพวก “มฤจฉา ทิฏฐิ”, ชอบแต่งอูฐเที่ยวรับจ้าง, ไว้หนวดเคราดำ หนาน่ากลัว, สวมเสื้อกางเกง สีขาว, โพกศีรษะด้วยผ้าขาว “โขมพัสตร”, อาศัย “อยู่แดนดินหลี่มี โดยที่ มากนา”, นับถือศาสนาอิสลาม นิกายชีอะห์ (เซ็น) [หลวงชาญภูเบศร์]

๑๔. แขกจุเหลี่ย : นับถือศาสนาอิสลามทั้งนิกายชีอะห์และสุหนี่ (นบเซ็นเซ่นสุหนี่), โพกศีรษะด้วยผ้าขาว, สวมกางเกงใส่เสื้อลาย (ลํ้า เลขลาย), อาศัยอยู่ในเมืองมัทราส, อาศัยการรีดนมวัวขาย, กินข้าวสาลี เคล้าเนยคลุกกับข้าวเป็นอาหาร [หลวงชาญภูเบศร์]

๑๕. หรูชปีตะสบาก [Russian Petersburg] : ข้อมูลเกี่ยวกับพวก รัสเซียแห่งเมืองปีเตอร์สเบิร์กใน “แดนตวันตก” นี้ เป็นข้อมูลที่ได้มาจาก “ข่าว”, ช่วงเดือนหน้าฝนมี “ผลเห็บ” [หิมะ] ตก, เป็นเมืองที่มีภูมิอากาศ“เย็นเยือกลมไล้ย้อย”, ชาวนาใส่เสื้อ “หนังแกะ” เวลานอนก็ต้องนอนอังไฟ ถึงมุ้ง (แนบอัคคีเคียง แค่มุ้ง), แต่บางคนก็ถือเอาหนังแพะมาห่ม ซึ่งส่ง กลิ่นสาบ “เหม็น” ฟุ้ง [พระญาณปริยัติ]

๑๖. หรูช (ตาตา) [Tartar] : อาศัยอยู่ในเมืองติดกับจีน, สวมกางเกง รัดเข็มขัด, ใส่เสื้อหนังเสือ มีเสื้อนวมข้างใน กลัดกระดุมแนบตัว, สวมถุงเท้า หนังสัตว์ และใส่หมวกหนัง [พระญาณปริยัติ]

๑๗. มอญ : พวกรามัญอยู่ในเมืองหงสาวดีนี้ทำ ไว้เพื่อคน “ชมเล่น” เผื่อว่าต่อไปคนมอญจะ “ลี้ ลับหาย” ไปจากโลก, นุ่งผ้าเป็นลายตาราง (หมากรุก) เหมือนชาวอังวะ (พม่า), โพกศีรษะ ใส่เสื้อ, ชอบสักยันต์บน หลังไหล่, ชอบพลอยทับทิม [ขุนมหาสิทธิโวหาร]

๑๘. กระแซ [Shan] :ตัวสีคลํ้าเหมือนพวกพม่า, นุ่งผ้าสีขาว, ชอบ อาบว่านยา (ให้หนังเหนียว), เก่งในการไล่ล่ากวาง, ฟันแข็งแรงไม่ค่อยหัก, นิยมสักตามขา, เป็นเมืองขึ้นของภุกาม [พระสมบัติบาล]

๑๙. เงี้ยว : อยู่เมืองแสนหวี, ชอบทรัพย์สินเงินทอง ที่ไหนขายของ สินค้าก็จะแต่งกองคาราวาน “ต่าง” ไปทำ การค้า ถึงเชียงใหม่เชียงรุ้ง, แต่งตัวใส่เสื้อผ้าแบบคนจีน, ชอบกินเป็ดไก่หมูเค็ม, รัดมวยผมโพกด้วยผ้า [ขุนมหาสิทธิโวหาร]

๒๐. พม่า : ขมวดผมเหมือนคนมอญ, นุ่งผ้ารัดสะเอวแน่นหนา, สักไหล่ - พุง -ขา, ชอบสวมกำ ไลมือทั้งสองข้างซ้ายขวา, สอดแผ่นทองคำ เป็นต่างหู, ยศสูงสุดของขุนนางคือ “ตอยา” ยามออกศึกสวมเสื้อดำ หมวกดำ [พระยาบำ เรอบริรักษ์]

๒๑. ฮินดู่ : “ชาติแขก” พวกนี้ชอบไว้หนวดเคราดำ “กลบแก้ม”, แต่งกายสะอาดสะอ้านงดงาม, สวมกางเกงผ้า “มัศหรู่” ใส่เสื้อจีบเอว เป็นผ้า “ยํ่าตะหนี่” เป็นลายดอก มีผ้าคาดเอวปล่อยชายครุยข้างหน้า, ใส่หมวกปีกปักลาย [หลวงศรีอัศวเดช]

๒๒. มลายู : ใส่เสื้อ “ชนิดน้อย” โพกผ้า “ตบิด”, สะเอวคาดกริช กับหอก, นับถือศาสนาอิสลาม (เข้าสุเหร่า, อ่านมุหลุด), อาศัยอยู่ในแถบเมือง อาทิ “ยะหริ่ง แปะไพร ไทรมุหงิด” นับถือธรรมเนียมเหมือนกัน [กรมหมื่น ไกรสรวิชิต]

๒๓. พราหมณ์ฮินดู่ : ฮินดูวรรณะพราหมณ์ อันเป็นตระกูลที่พรหม “เศก” ขึ้น, สวมเสื้อผ้าสีขาวงาม, เกล้ามวยผม, เจิมหน้าผาก, ถือศีลกินบวช, สาธยายมนตร์บูชาพระศิวะทุกคํ่าเช้า, ไม่กินเนื้อสัตว์, เล่าเรียนรอบรู้ไตรเพท [ปลัดวัดโมลีโลก]

๒๔. พราหมณ์รามเหศร์ : เป็นพวก “ชาติเชื้อ รามรัฐ”, นับถือ พระศิวะ, ชำ นัญใน “ทวาทศพิธียัช ชุเวท” และเก่งในทางเวทมนตร์, นุ่งผ้าขาว มีเชิง, เกล้ามวยผม, สวมสายธุรำ ใส่ตุ้มหู, สวมเสื้อครุย, คอยทำ หน้าที่ สะเดาะเคราะห์ร้าย [พระเทพกระวี]

๒๕. จาม : เหมือนกับคนเขมร, ผิวดำ เหมือนหมึก (ผิวเพื่อนดำ ดุจหมายหมึกไส้), อาศัยอยู่บริเวณเมืองละแวก, เวลาจะฆ่าสัตว์ใช้วิธีเชือดคอ แบบอิสลาม, โพกศีรษะไม่เหมือนกับคนเขมร, ใส่เสื้อลายกระดุมถี่, นุ่งผ้าถุงยาวกรอมเท้า, เหน็บมีด/กริชที่สะเอว [ขุนธนสิทธิ์]

๒๖. ลาวยวน : เป็นคนแถวหริภุญไชย, ชอบสักขาสักพุงดำ เหมือน พวกพม่า, ใส่ต่างหูทอง “เนื้อแปด”, โพกผ้าสีชมพู, ชอบใส่กำ ไลข้อมือ ทั้งสองข้าง, “โคลงซอ” เป็นลักษณะเด่น “ตามประเทศ”, คนทั้งแก่หนุ่มชอบ “แอ่วสาว” [พระยาบำ เรอบริรักษ์]

๒๗. หุ้ยหุย : ยังไม่เคยมีใครเห็นคนพวกนี้ เป็นแต่เพียงความรู้ ที่เล่าๆ กันมาว่าอาศัยอยู่ไกลมากติดเขตแดนของคนจีน, จะเป็นพวกแขก (มุสลิม) ก็ไม่ใช่ เพราะกินหมู, สวมกางเกงคาดสะเอวด้วยผ้า “แพรหงอนไก่”, ใส่เสื้อสีแดงฉูดฉาด, สวมรองเท้าปลายงอน, ใส่หมวก “หน้าม้า” [ขุนธนสิทธิ์]

๒๘. เกาหลี : ดูคล้ายคนญวน, เป็นชาติ “แขกเกาหลี”, เกล้าผมมวย ถักเปีย (กอดเกศ), ชอบไว้หนวดเคราดก “เฟือยคาง”, อยู่ใกล้กับเมือง เทียนสิน, สวมเสื้อผ้าแต่งร่างกายงดงาม (รางชาง) นุ่งกางเกงแพรหลิน เป็นมัน “ปะปลาบ” ใส่หมวกเหมือนหมวกงิ้ว [ขุนธนสิทธิ์]

๒๙. ญวน : เครื่องแต่งกายแบบเดียวกับงิ้ว, คนที่เป็นเจ้านาย ชอบนั่งเปลหาม ถือพัด “ด้ามจิ้ว”, เป็นคนเจ้ามายาเหลือหลาย (มายา เหลือแหล่ล้น หลายลบอง), มีฝีมือในเชิงช่างไม้, ชอบกินเนื้อจระเข้, อาศัย อยู่ชายฝั่งติดนํ้า เชี่ยวชาญการเดินเรือ [กรมขุนเดชอดิศร]

๓๐. จีน : เมื่อก่อนนี้ไว้ผมมวย แล้วเปลี่ยนมาไว้ผมเปียตามพวก “ตาด”, ใส่เสื้อสวมหมวก, สวมรองเท้า “ทาบหนัง”, มีบ้านเมืองและผู้คน เยอะมาก ติดต่อไปมาถึงกันสะดวก (หมื่นเมืองมากแซ้สดวก เดินถึงกันนา), กึงตั๋งเป็นเมืองสนุกสนานตื่นตาตื่นใจสุดๆ ไม่มีที่ไหนๆ ในโลกเหมือน มีสินค้าสิ่งของน่า “พึงใจ” มากมายให้ชมดู และแม้เวลาคํ่าคืนบนท้องนํ้า ก็ยังแน่นขนัดไปด้วยเรือ [กรมขุนเดชอดิศร]

๓๑. เขมร : ผิวดำ , นับถือศาสนาพุทธ, อาศัยอยู่ในกัมพูชาทางด้าน ทิศตะวันออก และเป็นเมืองขึ้นของสยาม, นุ่งผ้า “ปูม” เหมือนผ้าลายดอก “ถมยา”, ใส่เสื้อสีคราม, คาดสะเอวด้วยแพรเยื่อไม้ของญวน, ไว้ผมทรง “กระทุ่ม” ไม่ไว้ “ไร” ผม [หลวงลิขิตปรีชา]

๓๒. ลิ่วขิ่ว : บ้านเมืองอยู่ไกลมาก “ขอบหล้าเหลือเดินถึง”, เกล้าผม มวยเหมือนผมจุกเด็ก, ผิวสีคราม (ผิวเนื้อคล้ายเคลือบคราม), ใส่เสื้อ สีหมากสุกกรอมปิดเข่า, พันผ้าโพกศีรษะ, อยู่ทางด้านทิศตะวันออก, เป็น เมืองขึ้น “จิ้มก้อง” อยู่กับจีน [หลวงลิขิตปรีชา]

   อาจกล่าวได้ว่า โคลงภาพคนต่างภาษาเป็นการรวบรวมความรู้ เกี่ยวกับคนชาติภาษาต่างๆ ที่ชนชั้นนำ ของไทยรู้จัก สนใจใคร่รู้ หรือมี ความสำ คัญที่จะอยู่ในความรับรู้ของตน เป็นการขยายพรมแดนความรู้ เกี่ยวกับเชื้อชาติและภูมิศาสตร์ของชาติภาษานั้นๆ เพื่อให้ราษฎรทั่วไป ได้มีโอกาสรับรู้ถึงความเปลี่ยนแปลงของสังคมไทยที่มีความสัมพันธ์ ระหว่างประเทศกับคนต่างชาติต่างภาษาในสมัยต้นรัตนโกสินทร

 

๏ ทวยไทยไขษยทุกข์สิ้น  เสียมสกล เกษตรเฮย

ต่างชื่นต่างชมเปรม        ปราศเศร้า

พระเกียรติเกริกภูวดล      เดื่องยศ ยิ่งพ่อ

ทกแหล่งทกเหล้าล้วน      เลื่องฦๅ ฯ

๏ พระผดุงธรรมทศค้า     ขัตติยวัตร แสวงเอย

องค์สุทัศน์จักรพรรดิคือ    คู่ท้าว

อธรรมอสัตย์สลัด            สละละ ล่วงแฮ

บาปสร่างบุญสร้างอค้าว    ครุ่นครา ฯ

 

โคลงดั้นเรื่องปฏิสังขรณ์วัดพระเชตุพน

พระนิพนธ์สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส

32028 VIEW | 06/12/2561
วัดพระเชตุพน


สำเนาพระราชดำริห์ ทรงสร้างพระพุทธไสยาสวัดพระเชตุพน

สำเนาพระราชดำริห์ ทรงสร้างพระพุทธไสยาสวัดพระเชตุพน

สำเนาพระราชดำริห์ ทรงสร้างพระพุทธไสยาสวัดพระเชตุพน

จ.ศ. ๑๑๙๓ พ.ศ. ๒๓๗๔*

๏ ศิริศุภมัศดุ พระพุทธศักราชล่วงแล้วสองพันสามร้อยเจ็ดสิบสี่พระวษา (จ.ศ. ๑๑๙๓) กาลปีเถาะนักษัตรตรีณิศก พระบาทสมเดจ์บรมธรรมมฤกมหาราชาธิราชรามาธิบดี บรม นารถบรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัวผู้เปนพระบรมภาคิไณยนารถ๑ เสดจ์เสวยมไหศวรรยาธิปัด ถวัลราชสรรตติวงษ์ ดำรงค์พิภพกรุงเทพมหานคร บวรทวาราวดีศรีอยุทธยามหาดิหลกภพ นพรัตนราชธาณีบุรีรมย์ อุดมราชนิเวศน์มหาสถาน ทรงพระราชศรัทธาให้กระทำการปฏิสังขรณะ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาวาศวรมหาวิหารพระอารามหลวง ด้วยพระกระมลหฤไทยกอประด้วย พระกตัญญูกัตเวทีธรรมเพื่อจะสนองพระเดชพระคุณพระบาทสมเดจ์พระพุทธยอดฟ้าพระบรม ไอยกาธิราชเจ้า๒ ซึ่งทรงถาปนาการไว้แต่ก่อน เรื่องความทั้งปวงมีแจ้งพิศฎารในแผ่นสิลาจาฤก ณะ พระวิหารพระพุทธโลกนารถโน้นแล้ว แลทรงพระราชดำหริะว่า พระพุทธปฏิมากรใหญ่ ยัง มิได้มีในพระมหานครนี้ จึ่งมีพระราชโองการมานพระบันทูลสุรสีหนาท ดำหรัดสั่งพญาศรีพิพัทธ์ รัตนราชโกษาแลพญาเพ็ชพิไชย ให้เปนแม่การถาปนาพระมหาวิหารแลพระพุทธไสยาศน์ใหญ่ ขึ้นไว้ในพระอารามนี้จะให้เปนที่สักการบูชา แก่เทพยดามานุษย์สรรพสัตวทั้งปวงทั่วสกลโลกธาต์ุ เปนมหากุศลโกษฐาษเจรืญพระเกิยรดิยศ ปรากฎิไปตราบเท้ากัลปาวสาน ให้ลงรักปิดทองบันจุ พระบรมสารีริกธาตุในพระอุตมังคศิโรตม์ แลพื้นฝ่าพระบาททั้งสองข้างนั้นให้ประดับมุกเปน พระลายลักษณกงจักรแลรูปอัษฐุตรสตะมหามงคลร้อยแปดประการ ที่ถานพระพุทธไสยาศน์นั้น ให้ช่างปั้นเปนบัวกลุ่ม พื้นแลแววประดับกระจกลงรักปิดทอง บนพื้นถานพระดาษสิลาลายเปน ลายสอง จำหลักเปนดอกไม้รายทับ เชืงถานประกอบสิลาลายจำหลักเปนลายฝรั่งปิดทอง มีราว เทียนรอบถานพระทั้งสี่ด้าน เม็ดเสาจำหลักเปนเฟืองหย่างเม็ดฝรั่งปิดทอง ลำเสาแลเหล็กราว ทาแดง มีจงกลหล่อด้วยทองเหลืองปิดทอง ติดรายเรียงบนราวเหมือนในพระอุโบศถ อนึ่งเสา ในประธานทั้งสองแถวแถวละสิบสองต้นเปนญี่สิบสี่ต้นนั้นให้เขียนลายน้ำมันพื้นแดงเปน ลายแย่ง เชืงเสาประดับด้วยสิลาลายหย่างเสาในพระอุโบศถ บนพื้นเพดานในประธานแลเฉลียง กับทั้งหน้ามุขพื้นแดงเขียนลายน้ำมันปิดทองเปนลายแย่งหย่างฝรั่ง ตัวขื่อพื้นน้ำเงืนเขียนลายปิด ทองมีตรวยเชืงแม่ลายเปนลายแย่ง ท้องตพานพื้นแดงเขียนเปนลายกุดั่นปิดทอง แลผนังบน ฅอสองในประธานทั้งสองข้างนั้นเขียนเรื่องดาวดึงษเทวโลกย์ ผนังฅอสองหน้ามุขทั้งสองด้าน เขียนรูปมหาวิหกหลายพรรณบินบนกลีบเมฆ แลรูปอัศดรกุญชรชาติต่างต่างสัญจรในอำพรวิถี แลเชืงผนังพระวิหารข้างในประกอบสิลาลายจนถึงที่วางเช็ดหน้าหน้าต่าง ผนังห้องหว่างหน้าต่าง ประตูเขียนเรื่องอัฐกถาอังคุตรนิกายเอกนิบาต ว่าด้วยยกเอตะทัคะพระขีณาศพเถรีสิบสามนิทาน อุบาสกสิบนิทานอุบาสิกาสิบนิทาน เปนสามสิบสามนิทานทั้งสิ้นด้วยกัน ผนังบนหน้าต่างขึ้นไป เขียนเรื่องมหาวงษ์พิศฎาร ที่แม่ลายต่อเชืงผนังนั้นติดสิลาลายจาฤกอักษรเส้นรงบอกเรื่องไว้ ทุกห้อง แลซุ้มปตูหน้าต่างนั้นปั้นเปนลายซุ้มกระจกลงรักปิดทอง เพดานซุ้มพื้นแดงเขียนลาย ก้านขดปิดทอง บานประตูหน้าต่างข้างนอกเขียนลายรดน้ำเปนแย่งเครือผูกอาวุธ หลังบานประตู ข้างในเขียนลายน้ำมันเปนนาคราชผ้นพิศม์ เจ็ดศีศะห้าศีศะสามศีศะแลศีศะเดียวบ้างต่างต่าง กันกับทั้งรูปมังกรแลม้าน้ำ หลังบานหน้าต่างข้างในเขียนลายน้ำมันเปนลายก้านขด ข้างประตู หน้าต่างข้างในเขียนเปนลายเครือดอกไม้ ข้างนอกประดับด้วยกระเบื้องเคลือบเปนลายดอกไม้ ตก เช็ดหน้าประตูหน้าต่างเขียนลาย รดน้ำเปนเครือมลิเลื้อย อนึ่งพื้นพายในพระวิหารแลหน้ามุข ทั้งสองข้างนั้นดาษด้วยสิลาลายทั้งสิ้น อัฒจันท์ซึ่งลงจากประตูพระวิหารด้านข้างทั้งสี่ประตูแล อัฒจันท์หน้ามุขพายนอกทั้งแปดแห่งนั้นตัวคั่นทำด้วยสิลาเมืองชลบุรี มีลูกแก้วบังคั่นทำด้วย สิลาลาย แลมีรูปลั่นถันยืนถืออาวุธต่างต่างทำด้วยสิลาเขียวสูงสามสอก มีถานสิลารอง ตั้งอยู่ ประตูละคู่ กับทั้งข้างอัฒจันท์หน้ามุขแห่งละคู่ เปนรูปลั่นถันญี่สิบสี่รูปทั้งสิ้นด้วยกัน แลพื้น เฉลียงเสารายรอบนอกพระวิหารทั้งสี่ด้านนั้นดาษด้วยสิลาแดงเมืองราชบุรี กรอบกระทำด้วยสิลา เมืองชลบุรีมีลูกแก้ว บนพื้นหน้ามุขทั้งสองข้างนั้นมีแท่นสิลาลายแผ่นใหญ่ตามแนวกำแพงแก้ว ข้างละแท่น มีแท่นลดสองข้างเปนข้างละสามแท่นด้วยกัน กำแพงแก้วหน้ามุขข้างนอกประกอบ สิลาลายเปนลายทั้วข้างในประดับกระเบื้องปรุะเคลือบศรีเหลือง แลเครื่องประดับพายนอก พระวิหารนั้น


22461 VIEW | 07/12/2561
วัดพระเชตุพน


คำจาฤกที่มิได้จารึกในวัดพระเชตุพน

คำจาฤกที่มิได้จารึกในวัดพระเชตุพน


จารึกวัดพระเชตุพนที่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ โปรดเกล้าฯ ให้ จารึกลงแผ่นศิลาประดับไว้ทั่วทั้งพระอารามมีจำนวนมากนับพันแผ่น จากการสำรวจเพื่อนำเสนอ ยูเนสโกประกาศขึ้นทะเบียนเป็นมรดกความทรงจำแห่งโลกในทะเบียนนานาชาตินั้น พบจารึก จำนวน ๑,๔๔๐ รายการ ความจริงแล้วจะต้องมีมากกว่า ๒,๐๐๐ รายการ เพราะจากการสำรวจ ตรวจสอบพบจารึกที่ชำรุดสูญหายจากการรื้อถอนศาลาทิศตะวันออกของพระมณฑปไปหนึ่งหลัง เพื่อสร้างพระมหาเจดีย์รัชกาลที่ ๔ ซึ่งมีจารึกโคลงโลกนิติและในรัชกาลที่ ๕ มีการรื้อศาลาราย รอบวัดไป ๘ หลัง เพราะชำรุดมาก ไม่มีงบประมาณที่จะปฏิสังขรณ์ดังนั้น จารึกเรื่องตำรายา และชาดกในศาลานั้นๆจึงสูญหายไปด้วย จากการตรวจสอบค้นคว้าหาหลักฐานจากเอกสารตัวเขียนในสมุดไทยจากกลุ่มหนังสือ ตัวเขียนและจารึก สำนักหอสมุดแห่งชาติกรมศิลปากร เพื่อนำมาสอบทาน พบว่ามีต้นฉบับและ สำเนาคำจารึกที่ได้จัดทำขึ้นเพื่อเตรียมที่จะจารึกลงแผ่นศิลาวัดพระเชตุพน แต่ยังไม่ได้จารึก ปรากฏเรื่องราวที่มีความสำคัญมาก อย่างน้อย ๓ เรื่อง คือ ๑. สำเนาจาฤกแผ่นศิลา ว่าด้วยการปฏิสังขรณ์วัดพระเชตุพน เลขที่ ๓๑/ก มัดที่ ๑๑ หนังสือสมุดไทย จ.ศ. ๑๑๙๓ เป็นเรื่องเกี่ยวกับรายละเอียดการปฏิสังขรณ์ครั้งใหญ่ในสมัย รัชกาลที่ ๓ ทั้งที่เป็นอาคารทางสถาปัตยกรรม ส่วนประดับอาคารและการจารึกเรื่องราวต่างๆ ใน แต่ละแห่งโดยละเอียด ข้อความนี้คงเป็นต้นฉบับที่สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิต ชิโนรส ทรงพระนิพนธ์เป็นโคลงดั้นเรื่องปฏิสังขรณ์วัดพระเชตุพนครั้งรัชกาลที่ ๓ ข้อความ ตอนท้ายยังระบุว่า มีข้อความต่อให้ไปดูที่พระวิหารพระพุทธไสยาส แสดงว่า จาฤกเรื่องนี้น่าจะ เตรียมไว้เพื่อจารึกในพระวิหารพระโลกนาถ (ทิศตะวันออก) ซึ่งมีศิลาแผ่นใหญ่ขนาดสูง ๑.๑๑ เมตร ยาว ๒.๐๓ เมตร กรอบบนแกะสลักลายดอกพุดตาน ซึ่งยังว่างเปล่าอยู่คู่กับจารึกรัชกาล ที่ ๑ เรื่องทรงสถาปนาวัดพระเชตุพนครั้งรัชกาลที่ ๑๒. สำเนาพระราชดำริห์ว่าด้วยการทรงสร้างพระพุทธไสยาศนวัดพระเชตุพน เลขที่ ๓๒ มัดที่ ๑๑ หนังสือสมุดไทย จ.ศ. ๑๑๙๓ สันนิษฐานว่าเป็นต้นฉบับร่างขึ้นเพื่อที่จะจารึก ลงแผ่นศิลาในพระวิหารพระพุทธไสยาส ด้านทิศเหนือตรงช่องหน้าต่าง มีแผ่นศิลาใหญ่ขนาด กว้าง ๑.๑๖ เมตร สูง ๒.๒๓ เมตร มีกรอบหินแกะสลักเป็นลายดอกพุดตาน ยอดทรงมงกุฎ มีมังกรดั้นเมฆ ๒ ตัวอยู่ข้างบน ข้างล่างมีนกยูงรำแพน ๒ ตัว สองข้างเป็นลายประแจจีนสลับ ด้วยนกและผีเสื้อสวยงามมาก ซึ่งยังไม่มีข้อความจารึก เข้าใจว่ารัชกาลที่ ๓ เสด็จสวรรคต ขณะที่ พระวิหารพระพุทธไสยาสยังสร้างไม่เสร็จ มาแล้วเสร็จในรัชกาลที่ ๔ ข้อความในต้นฉบับนั้นก็ยัง ไม่เสร็จสมบูรณ์ขาดข้อความตอนท้าย จึงยังไม่ได้จารึก ๓. พระราชกฤษฎีการาชานุสาสน์วัดพระเชตุพน เลขที่ ๓๒๐ มัดที่ ๒๒ หนังสือ สมุดไทย จ.ศ. ๑๒๐๑ เป็นกฎหมายที่เรียกว่า อาญาวัด รัชกาลที่ ๓ โปรดเกล้าฯ ให้ตราขึ้นเพื่อ กำหนดบทลงโทษบุคคลที่มาทำอันตราย ทำให้ชำรุดเสียหายหรือทำสกปรกภายในบริเวณ พระอาราม ด้วยการปรับสินไหมพันหนึ่ง และมีกรงสำหรับกักขังผู้กระทำผิด สำเนาจารึกนี้ระบุว่า โปรดเกล้าฯ ให้จาฤกลงแผ่นศิลาติดไว้กับเสาศิลา ณ วัดพระเชตุพน แต่ไม่พบศิลาจารึกเรื่องนี้ ไม่ทราบว่าเสาศิลานี้อยู่ที่ไหน จะได้มีการจารึกแล้วสูญหายไปหรือยังไม่ได้จารึกกันแน่ เป็น ปริศนาจะต้องศึกษาค้นคว้าหาหลักฐานกันต่อไป คำจาฤกวัดพระเชตุพนทั้ง ๓ เรื่องนี้เป็นข้อมูลที่พบขณะสำรวจตรวจสอบ เพื่อจัดพิมพ์ หนังสือ จดหมายเหตุวัดพระเชตุพน รัชกาลที่ ๑ - ๔ เมื่อ พ.ศ. ๒๕๕๒ จึงได้นำมารวมลงพิมพ์ไว้ ในหนังสือประชุมจารึกวัดพระเชตุพน ในโอกาสฉลองจารึกวัดโพธิ์ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็น มรดกความทรงจำแห่งโลก ระหว่างวันที่ ๒๔ ธันวาคม ๒๕๕๔ - ๒ มกราคม ๒๕๕๕ นอกจากนี้คณะทำงานฝ่ายนิทรรศการยังได้ออกแบบทำสำเนาจารึกลงบนแผ่นกระจก และอะคริลิกใส ตั้งไว้คู่กับแผ่นศิลาของเดิม เพื่อแสดงให้เห็นข้อความตามจารึกนั้น ส่วนพระราช กฤษฎีการาชานุสาสน์วัดพระเชตุพนนั้น จัดทำเสาศิลาจารึกตั้งไว้ในบริเวณวัดเพื่อให้อนุชน รุ่นหลังได้รับรู้ถึงมรดกอันล้ำค่าที่บูรพกษัตริยาธิราชเจ้าได้ทรงพระราชอุทิศสร้างถวายไว้ใน วัดพระเชตุพน เพื่อเป็นประโยชน์แก่อาณาประชาราษฎร์และมหาชนตลอดมาจนถึงทุกวันนี้ จึงสมควรที่เราทั้งหลายจะได้ช่วยกันสืบทอดรักษาให้ดำรงคงอยู่คู่ชาติไทยไปตลอดกาลนาน สมดังพระราชปณิธานเทอญ

28825 VIEW | 07/12/2561
วัดพระเชตุพน


พระราชประวัติและพระราชกรณียกิจใน พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช

พระราชประวัติและพระราชกรณียกิจใน พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช

พระราชประวัติและพระราชกรณียกิจใน

พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช



พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช พระปฐมบรม กษัตริย์แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ผู้ทรงสถาปนาพระบรมราชจักรีวงศ์ พระนาม เดิมว่า ด้วง หรือ ทองด้วง พระราชบิดาคือ สมเด็จพระปฐมบรมมหาชนก พระนามเดิมว่า ทองดี รับราชการเป็นเสมียนตรากรมมหาดไทยใน กรุงศรีอยุธยา มีบรรดาศักดิ์เป็นพระพินิจอักษร ส่วนพระราชมารดา พระนามเดิมว่า หยก หรือ ดาวเรือง เสด็จพระบรมราชสมภพ เมื่อวันพุธ เดือน ๔ แรม ๕ คํ่า ปีมะโรงอัฐศก จ.ศ. ๑๐๙๘ ตรงกับวันที่ ๒๐ มีนาคม พ.ศ. ๒๒๗๙ ในรัชกาลสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ (พ.ศ.๒๒๗๕ - ๒๓๐๑) มีสมเด็จพระเชษฐภคินี พระเชษฐา และสมเด็จพระอนุชาธิราชร่วม พระชนกชนนี รวม ๕ พระองค์ คือ ๑. สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยาเทพสุดาวดี ๒. พระเจ้ารามณรงค์ ๓. สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระศรีสุดารักษ์ ๔. พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ๕. สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท เมื่อทรงเจริญวัยขึ้น ได้ทรงถวายตัวเข้ารับราชการเป็นมหาดเล็ก ในสมเด็จเจ้าฟ้าอุทุมพร กรมขุนพรพินิต ครั้นพระชนมายุได้ ๒๑ พรรษา ทรงผนวชที่วัดมหาทลาย เป็นเวลา ๑ พรรษา หลังจากทรงลาสิกขาแล้ว ทรงกลับเข้ารับราชการเป็นมหาดเล็กหลวงอีกครั้ง และเจริญก้าวหน้า ในหน้าที่ราชการตามลำดับ เมื่อ พ.ศ. ๒๓๐๔ เวลานั้นพระชนมายุ ๒๕ พรรษา ทรงรับราชการ ตำ แหน่งหลวงยกกระบัตร อยู่ที่เมืองราชบุรี และต่อมาได้ทรงเสกสมรส กับธิดาคหบดี ผู้มีภูมิลำ เนาอยู่ที่ตำ บลอัมพวา แขวงเมืองสมุทรสงคราม ชื่อ นาก กาลต่อมาในสมัยรัชกาลที่ ๑ โปรดเกล้าฯ สถาปนาขึ้นดำ รงตำแหน่ง สมเด็จพระบรมราชินีพระองค์แรกแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ (ถึงรัชกาลที่ ๒ โปรดเกล้าฯ สถาปนาเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระบรมราชชนนีพันปีหลวง เป็นกรมสมเด็จพระอมรินทรามาตย์ และในสมัยรัชกาลที่ ๖ โปรดเกล้าฯ ให้ประกาศเฉลิมพระเกียรติเป็นสมเด็จพระอมรินทรา บรมราชินี) ครั้งนั้น พระองค์ได้ประทับอยู่ที่เมืองราชบุรี จนกระทั่งกรุงศรีอยุธยาเสียแก่พม่า ใน พ.ศ.๒๓๑๐ ต่อมาเมื่อสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงกอบกู้เอกราช และสถาปนากรุงธนบุรีเป็นราชธานีแห่งใหม่ จึงเสด็จเข้ามารับราชการใน กรุงธนบุรี เมื่อ พ.ศ. ๒๓๑๑ รับพระราชทานบรรดาศักดิ์ที่พระราชวรินทร์ ในกรมพระตำ รวจหลวง ได้รับความไว้วางพระราชหฤทัยให้โดยเสด็จ ในราชการสงคราม เพื่อรวบรวมบ้านเมืองให้เป็นปึกแผ่นหลายครั้ง ในการนี้ โปรดเกล้าฯ พระราชทานบำ เหน็จความชอบเลื่อนบรรดาศักดิ์สูงขึ้น โดยลำดับ คือ เป็นพระยาอภัยรณฤทธิ์ จางวางกรมพระดำรง พระยายมราช ว่าที่สมุหนายก เจ้าพระยาจักรี ที่สมุหนายก และสมเด็จเจ้าพระยา มหากษัตริย์ศึก ได้รับพระราชทานเครื่องยศอย่างเจ้าต่างกรม ต่อมา พ.ศ. ๒๓๒๔ เกิดเหตุจลาจลขึ้นในกรุงธนบุรี เหตุการณ์ ดังกล่าวทำ ให้สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก ซึ่งยกทัพไปปราบจลาจลที่ เมืองเขมรต้องยกทัพกลับกรุงธนบุรีทันที ภายหลังจากที่ปราบปรามการ จลาจลให้บ้านเมืองสงบเรียบร้อยแล้ว มุขอำ มาตย์ราชมนตรีและราษฎร ทั้งหลาย ก็พร้อมกันอัญเชิญสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกขึ้นเถลิงถวัลย ราชสมบัติเป็นพระมหากษัตริย์สืบไป เมื่อวันที่ ๖ เมษายน พ.ศ.๒๓๒๕ หลังจากที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชเสด็จ ขึ้นครองราชสมบัติแล้ว มีพระราชดำ ริที่จะฟื้นฟูพระราชอาณาจักรใน ทุกด้าน ให้เจริญรุ่งเรืองเหมือนเมื่อครั้ง “บ้านเมืองดี” ในการนี้ มีพระราชดำ ริ ว่าฝั่งตะวันออกของแม่นํ้าเจ้าพระยามีลักษณะภูมิประเทศเป็นชัยภูมิดีกว่า ตะวันตก ทั้งยังป้องกันข้าศึกและขยายพระนครได้สะดวก จึงโปรดเกล้าฯ ให้ย้ายพระนครมาทางฝั่งตะวันออกของแม่นํ้าเจ้าพระยา เยื้องกับกรุงธนบุรี พระนครเดิม และโปรดให้พระยาธรรมาธิกรณ์ (บุญรอด บุณยรัตพันธุ์) กับพระยาวิจิตรนาวีเป็นแม่กองสร้างพระนครใหม่ ทรงประกอบพิธียกเสา หลักเมืองเมื่อวันอาทิตย์ เดือน ๖ ขึ้น ๑๐ คํ่า ปีขาลจัตวาศก จ.ศ. ๑๑๔๔ ตรงกับวันที่ ๒๑ เมษายน พ.ศ. ๒๓๒๕ และโปรดให้มีการพระราชพิธี ปราบดาภิเษกโดยสังเขป เมื่อวันที่ ๑๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๓๒๕ จากนั้น จึงโปรดให้ดำ เนินการสร้างพระบรมมหาราชวัง พระราชวังบวรสถานมงคล และพระนครต่อไป การก่อสร้างพระนครครั้งนั้น ได้มีการเกณฑ์ไพร่หลวงและไพร่เลก หัวเมืองให้ทำอิฐขึ้นใหม่บ้าง และให้รื้อเอาอิฐกำแพงที่กรุงศรีอยุธยาลงมา บ้าง เพื่อสร้างกำ แพงพระนคร นอกจากนี้ โปรดให้สร้างป้อม ประตู ปราสาทราชมณเฑียร และวัดพระศรีรัตนศาสดาราม เพื่อเป็นที่ประดิษฐาน พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร (พระแก้วมรกต) รวมทั้งเป็นที่ประชุม ข้าทูลละอองธุลีพระบาท และประกอบพระราชพิธีถือนํ้าพระพิพัฒน์สัตยา การก่อสร้างพระนครแห่งใหม่แล้วเสร็จเมื่อ พ.ศ. ๒๓๒๘ โปรดเกล้าฯ ให้มีการพระราชพิธีสมโภชเฉลิมฉลองพระนคร พร้อมกับโปรดให้มีการ พระราชพิธีบรมราชาภิเษก ครั้งที่ ๒ ให้สมบูรณ์ตามโบราณราชประเพณี พระราชทานนามพระนครว่า “กรุงเทพมหานคร บวรรัตนโกสินทร์ มหินทรา ยุทธยา มหาดิลกภพ นพรัตนราชธานีบุรีรมย์ อุดมราชนิเวศน์มหาสถาน อมรพิมานอวตารสถิต สักกะทัตติยวิษณุกรรมประสิทธิ์” (ต่อมาในสมัย รัชกาลที่ ๔ ทรงแปลงสร้อยคำ ว่า “บวรรัตนโกสินทร์” เป็น “อมรรัตนโกสินทร์”) พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชทรงปฏิบัติ พระราชกรณียกิจในการทำ นุบำ รุงบ้านเมืองให้เจริญรุ่งเรืองและดำ รงอยู่ อย่างมั่นคง โดยเฉพาะในด้านราชการสงครามนั้น ต้องทรงทำศึกสงคราม ป้องกันรักษาพระราชอาณาจักร และขยายพระราชอาณาเขตหลายครั้ง ด้านการจัดระเบียบการปกครองภายในพระราชอาณาจักร ทรง ทำ นุบำ รุงบ้านเมืองโดยยึดแบบอย่างแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยาเป็นสำ คัญ กล่าวคือ แบ่งเป็นฝ่ายทหารและพลเรือน มีอัครมหาเสนาบดี เรียกว่า สมุหนายก ถือตราพระราชสีห์ บังคับบัญชากรมมหาดไทย ดูแลหัวเมือง ฝ่ายเหนือ และสมุหพระกลาโหม ถือตราพระคชสีห์ บังคับบัญชากรม พระกลาโหม ดูแลหัวเมืองฝ่ายใต้ ส่วนกรมท่า ถือตราบัวแก้ว ดูแลหัวเมือง ฝ่ายตะวันตก แล้วจัดการปกครองแบบจตุสดมภ์ คือ เวียง วัง คลัง นา ด้านกฎหมาย ทรงปรับปรุงแก้ไขกฎหมาย เพื่อใช้เป็นหลักในการ ควบคุมจัดระเบียบสังคม โปรดให้ข้าราชการที่มีความรู้ในราชประเพณี และการบริหารราชการแผ่นดิน ร่วมกันชำ ระและปรับปรุงวางระเบียบ แบบแผนในการปฏิบัติราชการไว้เป็นหลักฐาน รวมทั้งชำระพระราชกำ หนด กฎหมายที่ยึดถือปฏิบัติกันมาแต่ครั้งโบราณให้ถูกต้อง แล้วจัดหมวดหมู่ ให้อาลักษณ์ชุบเส้นหมึกไว้ ๓ ชุด แต่ละชุดประทับตรา ๓ ดวง คือ พระราชสีห์ (มหาดไทย) พระคชสีห์ (กลาโหม) และบัวแก้ว (กรมท่า) เรียกว่า กฎหมายตราสามดวง ด้านขนบธรรมเนียมประเพณี ทรงฟื้นฟูขนบธรรมเนียมและ ราชประเพณีต่างๆ แต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา เช่น พระราชพิธีบรมราชาภิเษก พระราชพิธีโสกันต์ พระราชพิธีถือนํ้าพระพิพัฒน์สัตยา รวมทั้งทรงทำ นุ บำ รุงงานศิลปกรรมแขนงต่างๆ เป็นที่ปรากฏให้เห็นจากความงดงามของ ปราสาทราชมณเฑียรและพระอารามต่างๆ นอกจากนี้ ยังทรงริเริ่ม สร้างสรรค์งานวรรณกรรม ซึ่งมีพระราชนิพนธ์หลายเรื่อง ได้แก่ บทละคร เรื่องรามเกียรติ์ อุณรุท อิเหนา ดาหลัง และกลอนเพลงยาวนิราศเรื่อง รบพม่าที่ท่าดินแดง ทั้งนี้ยังได้ทรงส่งเสริมนักปราชญ์ราชบัณฑิตใหสร้างสรรค์งานในการแปล ชำ ระ เรียบเรียงพงศาวดารและวรรณคดีต่างๆ ตลอดรัชกาล เช่น พระราชพงศาวดารฉบับพระพนรัตน ลิลิตเพชรมงกุฎ อิเหนาคำฉันท์ สามก๊ก ไซ่ฮั่น ราชาธิราช ไตรโลกวินิจฉยกถา ฯลฯ ด้านศาสนา ทรงฟื้นฟูพระพุทธศาสนา เพื่อให้เป็นหลักยึดเหนี่ยว จิตใจของประชาชน ในการนี้ โปรดให้มีการสังคายนาพระไตรปิฎก โดย สมเด็จพระสังฆราชทรงเลือกพระราชาคณะที่มีความรู้ ๒๑๘ รูป ราชบัณฑิต ๓๒ คน ร่วมกันสังคายนา ณ วัดนิพพานาราม ซึ่งต่อมาคือ วัดมหาธาตุ ยุวราชรังสฤษฎิ์ จากนั้นพระราชทานพระไตรปิฎกแก่พระอารามหลวง และพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้วัดต่างๆ คัดลอกเก็บไว้ นอกจากนี้ ยังโปรดให้มีการจัดระเบียบพระสงฆ์ ตรากฎพระสงฆ์ เพื่อให้ประพฤติอยู่ ในพระธรรมวินัย มีพระราชศรัทธาทำ นุบำ รุงพระพุทธศาสนา โดยทรง สร้างพระอารามขึ้นใหม่ ตลอดจนบูรณปฏิสังขรณ์พระอารามต่างๆ ทั้งใน เขตพระนครและหัวเมืองหลายแห่ง เฉพาะวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (นามเดิมว่า วัดโพธาราม) ซึ่งเป็นวัดประจำ รัชกาลนั้น มีพระราชศรัทธาจะสร้างให้บริบูรณ์งดงาม ขึ้นกว่าเก่า จึงทรงบูรณปฏิสังขรณ์ใหม่ทั้งพระอาราม ใช้เวลารวม ๗ ปี ๕ เดือน ๒๘ วัน จึงเสร็จสมบูรณ์ ในการนี้ โปรดให้ตั้งการฉลองพระอาราม เมื่อวันศุกร์ เดือน ๕ แรม ๑๒ คํ่า ปีระกาตรีศก จ.ศ. ๑๑๖๓ ตรงกับ วันที่ ๑๐ เมษายน พ.ศ. ๒๓๔๔ พระราชทานนามว่า วัดพระเชตุพนวิมล มังคลาวาศ (ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ ๔ ทรงแปลงสร้อยนามใหม่เป็น วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม) พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เสด็จสวรรคต เมื่อวันพฤหัสบดี เดือน ๙ แรม ๑๓ คํ่า ปีมะเส็งเอกศก จ.ศ. ๑๑๗๑ ตรงกับวันที่ ๗ กันยายน พ.ศ. ๒๓๕๖ พระชนมพรรษา ๗๓ พรรษา ทรงดำ รงสิริราชสมบัติอยู่ ๒๘ ปี ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาล ที่ ๖ มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาวันที่ ๖ เมษายน ของทุกปี เป็นวันพระบรมราชานุสรณ์แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ เรียกว่า วันจักรี ถึง พ.ศ. ๒๔๗๕ ในโอกาสที่กรุงเทพมหานคร มีอายุครบ ๑๕๐ ปี พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๗ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ บริจาคพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์สร้างพระปฐมบรมราชานุสรณ์ คือ สะพานพระพุทธยอดฟ้าข้ามแม่นํ้าเจ้าพระยา และที่เชิงสะพานนั้น โปรด ให้ประดิษฐานพระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้า จุฬาโลกมหาราช ต่อมาในวันที่ ๒๓ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๒๕ คณะรัฐมนตรีมีมติให้ ถวายพระราชสมัญญา นามว่า พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก มหาราช และได้มีมติให้เปลี่ยนการเรียกชื่อวันจักรีในวันที่ ๖ เมษายน ของทุกปี เป็นวันพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช และวันที่ระลึกมหาจักรีบรมราชวงศ์ พ.ศ.๒๕๕๒ เนื่องในโอกาสครบ ๒๐๐ ปี แห่งวันสวรรคตในพระบาท สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช วันที่ ๗ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๒ สมาชิกราชสกุลทุกมหาสาขา คณะสงฆ์วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม และมูลนิธิ “ทุนพระพุทธยอดฟ้า” ในพระบรมราชูปถัมภ์ สำ นึกในพระมหา กรุณาธิคุณ จึงร่วมกันจัดงานบำ เพ็ญกุศลอุทิศถวายพระบาทสมเด็จพระพุทธ ยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช พระผู้ทรงพระคุณอันประเสริฐ ทรงอุทิศพระองค์ ประกอบพระราชกรณียกิจนานัปการ ด้วยพระวิริยอุตสาหะอย่างยิ่งไว้แก่ แผ่นดิน อันเป็นรากฐานและแนวทางในการพัฒนาชาติบ้านเมืองให้ยั่งยืนสืบไป

148384 VIEW | 31/03/2563
วัดพระเชตุพน


พระราชประวัติและพระราชกรณียกิจ ในพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว

พระราชประวัติและพระราชกรณียกิจ ในพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว

พระราชประวัติและพระราชกรณียกิจใน

พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว




พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ แห่งพระบรม ราชจักรีวงศ์ พระนามเดิมว่า พระองค์เจ้าทับ เป็นพระราชโอรสพระองค์ใหญ่ ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ ๒ กับเจ้าจอมมารดา เรียม ซึ่งต่อมาได้รับการเฉลิมพระนามาภิไธยเป็นสมเด็จพระศรีสุลาลัย เสด็จพระบรมราชสมภพในรัชกาลที่ ๑ เมื่อวันจันทร์ เดือน ๔ แรม ๑๐ คํ่า ปีมะแมนพศก จ.ศ. ๑๑๔๙ ตรงกับวันที่ ๓๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๓๓๐ ณ พระราชวังเดิม กรุงธนบุรี ต่อมาเมื่อพระชนมพรรษาครบกำ หนดโสกันต์ พระบาทสมเด็จ พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช สมเด็จพระบรมอัยกาธิราช โปรดให้มี พิธีโสกันต์เป็นการพิเศษ ณ พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ในพระบรมมหา ราชวัง และในเวลาต่อมาโปรดให้ทรงผนวช ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม จากนั้นเสด็จไปประทับจำ พรรษาอยู่ ณ วัดราชสิทธาราม ธนบุรี เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย สมเด็จพระบรม ชนกนาถ เสด็จขึ้นเถลิงถวัลยราชสมบัติเป็นพระมหากษัตริย์ รัชกาลที่ ๒ เมื่อ พ.ศ. ๒๓๕๒ ทรงได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาขึ้นทรงกรม เป็นพระเจ้าลูกยาเธอ กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ ครั้น พ.ศ. ๒๓๕๖ โปรดให้ ทรงกำ กับราชการต่างพระเนตรพระกรรณในกรมท่า และกรมพระคลัง มหาสมบัติ ครั้นสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาเสนานุรักษ์ กรมพระราชวัง บวรสถานมงคลเสด็จสวรรคตแล้ว โปรดให้ทรงบังคับการสิทธิ์ขาดใน กรมพระตำรวจ ทำ หน้าที่ว่าความฎีกาต่างๆ เป็นลำดับมา ซึ่งล้วนสะท้อนให้เห็นถึงพระปรีชาสามารถที่ทรงรอบรู้ในราชการแผ่นดินหลายด้าน จนเป็น ที่ทรงไว้วางพระราชหฤทัยของสมเด็จพระบรมชนกนาถมาตลอดรัชกาล ถึง พ.ศ. ๒๓๖๗ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย สมเด็จ พระบรมชนกนาถ เสด็จสวรรคต แต่มิได้ตรัสมอบราชสมบัติแก่ผู้ใด บรรดา พระบรมวงศานุวงศ์ชั้นผู้ใหญ่และเสนาบดีทั้งปวง ได้ประชุมปรึกษาและ พร้อมกันอัญเชิญพระเจ้าลูกยาเธอ กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ พระราชโอรส พระองค์ใหญ่ ซึ่งทรงพระสติปัญญาเฉลียวฉลาดและรอบรู้ในกิจการ บ้านเมืองเป็นอย่างยิ่ง เสด็จเสวยราชสมบัติสืบราชสันตติวงศ์เป็น พระมหากษัตริย์รัชกาลที่ ๓ นับแต่วันพุธที่ ๒๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๓๖๗ ขณะนั้นมีพระชนมพรรษา ๓๗ พรรษา ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงบำ เพ็ญ พระราชกรณียกิจนานัปการ อันเป็นคุณประโยชน์แก่อาณาประชาราษฎร์ และชาติบ้านเมืองเป็นอเนกอนันต์ ด้านการจัดระเบียบบริหารการปกครองนั้น ยังคงยึดตามแบบอย่าง ครั้งรัชกาลที่ ๑ ที่สำ คัญในรัชกาลนี้ ไทยต้องเผชิญกับการคุกคามของ จักรวรรดินิยมตะวันตก เป็นผลให้ต้องมีการเจรจาทำ สนธิสัญญาทาง การค้ากับอังกฤษและสหรัฐอเมริกา ใน พ.ศ. ๒๓๖๙ และ พ.ศ. ๒๓๗๕ ตามลำดับ ด้านเศรษฐกิจการค้านั้น ถือได้ว่า พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้า เจ้าอยู่หัวทรงพระปรีชาสามารถในการพาณิชย์มานับแต่สมัยรัชกาลที่ ๒ ด้วยทรงเชี่ยวชาญในด้านการค้ากับต่างประเทศเป็นอย่างยิ่ง ดังปรากฏ หลักฐานว่า ใน พ.ศ. ๒๓๖๔ ไทยมีเรือติดต่อค้าขายกับจีนถึง ๘๒ ลำ และกับชาติอื่นๆ อีก ๕๐ ลำ นอกเหนือจากจะทรงจัดการค้าสำ เภาหลวง ไปค้าขายกับนานาประเทศแล้ว ยังทรงค้าสำ เภาเป็นการส่วนพระองค์ด้วย โดยเฉพาะกับจีน เป็นผลให้พระองค์มีพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์เป็น จำ นวนมากก่อนที่จะเสด็จขึ้นครองราชย์ พระราชทรัพย์ดังกล่าวนี้บรรจุไว้ในถุงสีแดง จึงเป็นที่มาของชื่อเรียก “เงินถุงแดง” เก็บรักษาไว้ใน พระคลังข้างที่ ครั้นถึงรัชสมัยของพระองค์ สภาพเศรษฐกิจเริ่มมั่นคงขึ้น โดยโปรด ให้แก้ไขวิธีการเก็บผลประโยชน์แผ่นดินบางประการ และตั้งภาษีขึ้นใหม่ ๓๘ อย่าง รวมทั้งทรงจัดตั้งระบบเจ้าภาษีนายอากร เพื่อให้มีการประมูล ผูกขาดการเก็บภาษีอากร ส่งผลให้ราชการมีรายได้แผ่นดินอยู่มาก เมื่อสิ้นรัชกาล มีเงินในพระคลังเหลือจับจ่ายในราชการแผ่นดิน จำ นวน ๔๐,๐๐๐ ชั่ง (๓,๒๐๐,๐๐๐ บาท) ซึ่งพระองค์มีพระราชดำ รัส ขอไว้ จำ นวน ๑๐,๐๐๐ ชั่ง (๘๐๐,๐๐๐ บาท) เพื่อสร้างพระอารามที่ค้าง ไว้ให้แล้วเสร็จ ส่วนที่เหลือนั้น ถวายพระเจ้าแผ่นดินพระองค์ใหม่ตามแต่ จะทรงใช้สอย ด้านศาสนา พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเป็น เอกอัครศาสนูปถัมภกตามพระราชประเพณี มีพระราชศรัทธาใน พระบวรพุทธศาสนา ทรงบำ เพ็ญพระราชกุศลอยู่เป็นนิจ โปรดให้สมณทูต ออกไปเจริญสัมพันธไมตรีทางศาสนากับประเทศลังกา ทรงโปรดปราน การสร้างและปฏิสังขรณ์วัดวาอาราม เช่น วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม วัดราชโอรสาราม วัดเทพธิดาราม วัดราชนัดดาราม เป็นต้น จึงมีคำกล่าว กันว่า ผู้ใดเอาใจใส่ทำ นุบำ รุงในพระศาสนาและสร้างพระอาราม ก็ทรง โปรดยิ่งนัก พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จสวรรคต เมื่อวันพุธ เดือน ๕ ขึ้นคํ่า ๑ ปีกุนตรีศก จ.ศ. ๑๒๑๓ ตรงกับวันที่ ๒ เมษายน พ.ศ. ๒๓๙๔ พระชนมพรรษา ๖๔ พรรษา มีพระราชโอรสและพระราชธิดา รวม ๕๑ พระองค์ และมีสายราชสกุลที่สืบเนื่องมา รวม ๑๓ มหาสาขา ได้แก่ ศิริวงศ์ โกเมน คเนจร งอนรถ ลดาวัลย์ ชุมสาย ปิยากร อุไรพงศ์ อรณพ ลำยอง สุบรรณ สิงหรา และชมพูนุท
ต่อมาคณะรัฐมนตรีมีมติให้ออกพระนามพระบาทสมเด็จพระนั่ง เกล้าเจ้าอยู่หัว รวม ๓ แบบ คือ “พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว” “พระมหาเจษฎาราชเจ้า” และ “พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมหาเจษฎาราชเจ้า” ซึ่งมีความหมายว่า “พระมหาราชเจ้าผู้มีพระทัย ตั้งมั่นในการบำ เพ็ญพระราชกิจ” และทุกวันที่ ๓๑ มีนาคม ซึ่งเป็น วันคล้ายวันพระบรมราชสมภพในพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว กำ หนดให้เป็น “วันที่ระลึกพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมหา เจษฎาราชเจ้า” ซึ่งจะมีรัฐพิธีถวายราชสักการะพระบรมราชานุสาวรีย์ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นประจำ ทุกปี ณ ลานพลับพลา มหาเจษฎาบดินทร์ ถนนราชดำ เนินกลาง เชิงสะพานผ่านฟ้า เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร

35410 VIEW | 31/03/2563
วัดพระเชตุพน


โอ้วัดโพธิ์เป็นวัดกษัตริย์สร้าง ไม่โรยร้างรุ่งเรืองดังเมืองสวรรค์

โอ้วัดโพธิ์เป็นวัดกษัตริย์สร้าง ไม่โรยร้างรุ่งเรืองดังเมืองสวรรค์

โอ้วัดโพธิ์เป็นวัดกษัตริย์สร้าง ไม่โรยร้างรุ่งเรืองดังเมืองสวรรค์
อรวรรณ ทรัพย์พลอย


   หากจะกล่าวถึงความวิจิตรงดงามของวัดโพธิ์ ซึ่งเป็นวัดคู่พระนคร คงเป็นภาพที่ติดตาตรึงใจอยู่ในความรู้สึกของผู้คนในสมัยต้นรัตนโกสินทร์ เป็นอย่างยิ่ง สะท้อนให้เห็นจากบทกวีนิพนธ์ในสมัยนั้น ที่ล้วนชื่นชมต่อ ความสวยงามของพระอารามแห่งนี้ซึ่งเปรียบประดุจเมืองสวรรค์ ดังเช่น กวีนิพนธ์ เรื่อง นิราศพระแท่นดงรัง ของนายมี๑ ที่กล่าวถึงวัดโพธิ์ความ ตอนหนึ่งว่า โอ้วัดโพธิ์เป็นวัดกษัตริย์สร้าง ไม่โรยร้างรุ่งเรืองดังเมืองสวรรค์

   วัดโพธิ์ หรือต่อมาคือ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม เป็นพระอาราม หลวงชั้นเอก ชนิดราชวรมหาวิหาร เดิมเป็นวัดโบราณ สันนิษฐานว่าสร้าง ขึ้นในสมัยอยุธยาราวรัชกาลสมเด็จพระเพทราชา (พ.ศ. ๒๒๓๑ - ๒๒๔๖) ในเวลานั้นยังมีฐานะเป็นเพียงวัดราษฎร์เล็กๆ อยู่ในเขตตำ บลบางกอก ปากนํ้าเจ้าพระยา เดิมชื่อว่า วัดโพธาราม แต่เป็นที่รู้จักเรียกขานกันทั่วไป ในนามว่า วัดโพธิ์

  ต่อมาในสมัยธนบุรี เมื่อ พ.ศ. ๒๓๑๑ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ทรงสถาปนากรุงธนบุรีเป็นราชธานีอยู่ทางฝั่งตะวันตกของแม่นํ้าเจ้าพระยา ครั้งนั้นทรงกำ หนดเขตสองฝั่งแม่นํ้าเจ้าพระยาให้อยู่ในเขตกลางเมืองหลวงวัดโพธาราม ซึ่งอยู่ในเขตพระนครฝั่งตะวันออกของแม่นํ้าเจ้าพระยา จึงได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์ยกฐานะขึ้นเป็นพระอารามหลวง และมี พระราชาคณะปกครองนับแต่นั้นเป็นต้นมา 

  ครั้นถึงสมัยรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก มหาราช เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติเป็นพระปฐมบรมกษัตริย์แห่ง พระบรมราชจักรีวงศ์ เมื่อ พ.ศ. ๒๓๒๕ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ย้าย ราชธานีมาตั้งอยู่ทางฝั่งตะวันออกของแม่นํ้าเจ้าพระยา เวลานั้นวัดโพธาราม ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของพระบรมมหาราชวัง ปรากฏหลักฐานจาก พระราช พงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ ๑ ระบุว่า เมื่อ พ.ศ. ๒๓๓๑ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เสด็จพระราชดำ เนิน ทอดพระเนตรเห็นวัดมีความชำ รุดปรักหักพังมากแล้ว มีพระราชศรัทธา จะบูรณปฏิสังขรณ์ให้บริบูรณ์งดงามทั้งพระอาราม จึงโปรดให้เริ่มการ บูรณปฏิสังขรณ์พระอุโบสถ พระวิหาร พระระเบียง ตลอดจนสิ่งก่อสร้าง ที่จำ เป็นอื่นๆ นับแต่ พ.ศ. ๒๓๓๖ เป็นต้นมา เมื่อสร้างถาวรวัตถุแล้ว โปรดให้อัญเชิญพระพุทธรูปจากวัดร้างตามหัวเมืองต่างๆ มาประดิษฐาน เป็นพระประธานในพระอุโบสถ พระวิหารทิศ และพระระเบียงชั้นนอก ส่วนชั้นในเขียนเรื่องชาดกห้าร้อยห้าสิบพระชาติในการนี้ มีพระราชดำ ริ โปรดให้จารึกเรื่องทรงสร้างวัดพระเชตุพน ครั้งรัชกาลที่ ๑ (ปัจจุบัน ประดับอยู่ที่ผนังพระวิหารทิศพระพุทธโลกนาถ) เป็นจดหมายเหตุ ปรากฏให้อนุชนรุ่นหลังได้เรียนรู้จดจำ นับเป็นจารึกที่เก่าแก่ที่สุด อายุ กว่า ๒๐๐ ปี นอกจากนี้ ยังโปรดให้จารึกตำ รายา และปั้นรูปฤาษีแสดง ท่าดัดตนไว้เป็นวิทยาทานแก่ราษฎรที่ศาลารายด้วย การบูรณปฏิสังขรณ์ ใช้เวลาทั้งสิ้น ๗ ปี ๕ เดือน ๒๘ วัน จึงแล้วเสร็จสมบูรณ์ ในเวลาต่อมา ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดงานฉลองพระอารามขึ้นใน พ.ศ. ๒๓๔๔ พระราชทานนามว่า “วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาวาศ” (ต่อมาในรัชกาลที่ ๔ ทรงแปลงสร้อยนามวัดใหม่เป็นวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม) เป็น พระอารามหลวงที่มีความสำคัญในฐานะเป็นวัดประจำ รัชกาล

  ครั้นถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ มีพระราชดำ ริว่า วัดพระเชตุพนมีสภาพชำ รุดทรุดโทรมมาก เพราะ ว่างเว้นจากการบูรณปฏิสังขรณ์เป็นเวลากว่า ๓๐ ปี จึงทรงพระกรุณา โปรดเกล้าฯ ให้มีการบูรณปฏิสังขรณ์ครั้งใหญ่ขึ้นทั้งพระอาราม นับแต่ พ.ศ. ๒๓๗๕ โดยครั้งนั้นทรงกำ หนดให้พระบรมวงศานุวงศ์เป็นแม่กอง กำกับงาน และข้าทูลละอองธุลีพระบาทแบ่งหน้าที่เป็นนายด้านรับผิดชอบ การบูรณปฏิสังขรณ์คนละส่วน ในการนี้ พระองค์ได้พระราชทานมรดก อันลํ้าค่า ซึ่งล้วนเป็นภูมิปัญญาของคนไทยให้เป็นสมบัติของชาติ คือ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เหล่าบรรดานักปราชญ์ราชบัณฑิตช่วยกัน ตรวจสอบชำ ระตำ ราสรรพวิทยาความรู้ต่างๆ เช่น ตำ รากวีนิพนธ์ ตำ รา แพทย์แผนโบราณ ตำ รายา ฯลฯ พิจารณาเลือกสรรแต่ฉบับที่ดีและลง ความเห็นว่าถูกต้องแน่นอนแล้ว จารึกลงแผ่นศิลาประดับไว้ตามอาคาร และสิ่งก่อสร้างภายในพระอาราม เช่น พระอุโบสถ พระวิหาร ระเบียงคด และศาลารายต่างๆ เพื่อเป็นวิทยาทานให้แก่ราษฎรที่ใฝ่รู้สนใจในตำ รา วิชาการเหล่านี้ จะได้ศึกษาค้นคว้าเล่าเรียนได้กว้างขวางยิ่งขึ้น นับเป็น พระมหากรุณาธิคุณอันยิ่งใหญ่ที่มีพระราชดำ ริให้วัดพระเชตุพนเป็นแหล่ง เรียนรู้ของมหาชนทุกชนชั้น ด้วยเหตุนี้ จึงมีคำ กล่าวว่า วัดพระเชตุพน คือ มหาวิทยาลัยแห่งแรกของเมืองไทย

  โดยเหตุที่จารึกวัดโพธิ์เป็นหลักฐานการบันทึกที่รวบรวมองค์ความรู้ ของสรรพวิทยาการต่างๆ ทั้งทางด้านประวัติศาสตร์ ศาสนา ขนบธรรมเนียม จารีตประเพณี อักษรศาสตร์ ภาษาศาสตร์ เวชศาสตร์ และสุภาษิต ในการนี้ คณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยแผนงานความทรงจำแห่งโลก ซึ่งมี ศาสตราจารย์พิเศษ คุณหญิงแม้นมาส ชวลิต เป็นประธานกรรมการ ได้พิจารณาถึงคุณค่าและความสำ คัญของจารึกวัดโพธิ์ดังกล่าว จึงมีมติ เสนอจารึกวัดโพธิ์เป็นมรดกความทรงจำ แห่งโลก ระดับภูมิภาคเอเชีย แปซิฟิก ใน พ.ศ. ๒๕๕๑ ซึ่งคณะกรรมการของยูเนสโกแห่งภูมิภาคเอเชีย แปซิฟิกว่าด้วยแผนงานความทรงจำ แห่งโลก (UNESCO Memory of the World Committee for the Asia Pacific Regional - MOWCAP) ประกาศขึ้นทะเบียนจารึกวัดโพธิ์เป็นมรดกความทรงจำ แห่งโลก ระดับภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก เมื่อวันที่ ๒๑ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๑ ณ กรุงแคนเบอร์รา ประเทศออสเตรเลีย

  ต่อมาคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยแผนงานความทรงจำแห่งโลก ได้พิจารณาว่า สมควรเสนอจารึกวัดโพธิ์เป็นมรดกความทรงจำ แห่งโลก ระดับนานาชาติ จึงได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการจัดทำ แผนการอนุรักษ์ และเผยแพร่จารึกวัดโพธิ์ เพื่อดำ เนินการสำ รวจจัดทำ ทะเบียนจารึก วัดโพธิ์ ตลอดจนจัดทำแผนอนุรักษ์และเผยแพร่เพิ่มเติมด้วย และจากการ ประชุมของคณะกรรมการที่ปรึกษานานาชาติว่าด้วยแผนงานความ ทรงจำแห่งโลกของยูเนสโก ครั้งที่ ๑๐ (The Tenth Meeting of the International Advisory Committee for the Memory of the World Programme of UNESCO) ได้ประกาศรับรองให้จารึกวัดโพธิ์ ขึ้นทะเบียน เป็นมรดกความทรงจำแห่งโลก ระดับนานาชาติ เมื่อวันที่ ๒๗ พฤษภาคม ๒๕๕๔ ณ เมืองแมนเชสเตอร์ สหราชอาณาจักร เหตุที่จารึกวัดโพธิ์ ซึ่งเป็น มรดกภูมิปัญญาไทยได้รับการยกย่องจากองค์การยูเนสโก เพราะมีคุณสมบัติ ครบถ้วนตามหลักเกณฑ์การคัดเลือกเอกสาร โดยเป็นการรวบรวมหลักฐาน ลายลักษณ์อักษรที่มีคุณค่าต่อมนุษยชาติ คงความเป็นเอกและมีความ โดดเด่นทั้งในด้านเวลา เนื้อหาสาระ สถานที่ บุคคล ฯลฯ อีกทั้งยังมีความ หายาก ความสมบูรณ์ และเป็นของแท้ที่มีมาแต่โบราณ ซึ่งล้วนเป็นภูมิปัญญา ของบรรพบุรุษไทยที่ได้สร้างสรรค์สรรพวิทยาความรู้ต่างๆ ไว้ เพื่อเป็น มรดกความทรงจำ อันลํ้าค่าให้แก่ลูกหลานและแผ่นดินสืบมาตราบจน ถึงทุกวันนี้ จารึกวัดโพธิ์เป็นมรดกความทรงจำ แห่งโลกของไทยเพียง รายการเดียวที่ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกความทรงจำ แห่งโลกทั้งสองระดับ นับเป็นเกียรติเป็นศักดิ์ศรี และความภาคภูมิใจของคนไทยทั้งแผ่นดิน

  อนึ่ง จารึกวัดโพธิ์ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกความทรงจำ แห่งโลก จำ นวน ๑,๔๔๐ รายการ ส่วนใหญ่เป็นจารึกอักษรไทย ภาษาไทย ส่วนอักษรขอม ภาษาบาลี และภาษาไทยมีเพียงเล็กน้อยเท่านั้น คณะ ทำ งานสำ รวจและจัดทำ ทะเบียนจารึกวัดโพธิ์ ได้จำ แนกเป็น ๖ หมวด ดังนี้

    ๑. หมวดพระพุทธศาสนา จำ นวน ๓๑๐ แผ่น มี ๑๒ เรื่อง ได้แก่ เรื่องมหาวงษ์ พระสาวกเอตทัคคะ พระสาวิกาเอตทัคคะ อุบาสกเอตทัคคะ อุบาสิกาเอตทัคคะ พาหิรนิทาน ทศชาติชาดก เวสสันดรชาดก อรรถกถา ชาดก ญาณ ๑๐ นิรยกถา และเปรตกถา

    ๒. หมวดเวชศาสตร์ จำ นวน ๖๐๘ แผ่น มี ๙ เรื่อง ได้แก่ ตำ รายา แผนเส้น แผนฝี แผนปลิง แม่ซื้อ ลำ บองราหู โองการปัดพิษแสลง อาธิไท้โพธิบาท และโคลงภาพฤๅษีดัดตน

    ๓. หมวดวรรณคดี และสุภาษิต จำ นวน ๓๔๑ แผ่น มี ๑๑ เรื่อง ได้แก่ โคลงกลบท โคลงภาพจำ หลักเรื่องรามเกียรติ์ โคลงโลกนิติ เพลงยาว กลบท ตำ ราฉันท์มาตราพฤติ ตำ ราฉันท์วรรณพฤติ ฉันท์พาลีสอนน้อง ฉันท์กฤษณาสอนน้อง ฉันท์อัษฎาพานร สุภาษิตพระร่วง และนิทาน ๑๒ เหลี่ยม

    ๔. หมวดทำ เนียบ จำ นวน ๑๒๔ แผ่น มี ๓ เรื่อง ได้แก่ ทำ เนียบ หัวเมืองและผู้ครองเมือง ทำ เนียบสมณศักดิ์ และโคลงภาพคนต่างภาษา

    ๕. หมวดประวัติ จำ นวน ๒๑ แผ่น มี ๒ เรื่อง ได้แก่ ประวัติการ บูรณปฏิสังขรณ์แต่ละอาคาร และจารึกชื่อเฉพาะต่างๆ ได้แก่ วิหารทิศ พระมหาเจดีย์ฯ และสถูป

    ๖. หมวดประเพณี จำ นวน ๓๖ แผ่น มี ๑ เรื่อง ได้แก่ ริ้วกระบวน แห่พระกฐินทางสถลมารค

   กระบวนการสำ รวจและจัดทำ ทะเบียนจารึกวัดโพธิ์ครั้งนี้ ยังพบว่า มีต้นฉบับหนังสือสมุดไทยที่ร่างเตรียมไว้เพื่อที่จะจารึกลงบนแผ่นศิลา แต่ยังไม่ได้จารึกให้ปรากฏเป็นหลักฐาน เช่น เรื่อง สำ เนาจาฤกแผ่นศิลา ว่าด้วยการปฏิสังขรณ์วัดพระเชตุพน สำ เนาพระราชดำ ริห์ว่าด้วยการ ทรงสร้างพระพุทธไสยาศนวัดพระเชตุพน และพระราชกฤษฎีการาชา นุสาสน์ วัดพระเชตุพน เป็นต้น

 กล่าวได้ว่าท่ามกลางกระแสความเปลี่ยนแปลงของบ้านเมือง วัดโพธิ์ ได้มีพัฒนาการอยู่คู่สังคมไทยมาเป็นระยะเวลาอันยาวนาน เป็นที่รู้จักกัน ในฐานะ วัดกษัตริย์สร้าง และเป็นแหล่งเรียนรู้ที่ทรงคุณค่าทั้งทางโลก และทางธรรม ดังปรากฏจารึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษรเผยแพร่แก่สาธารณชน นับแต่อดีตตราบจนถึงปัจจุบัน ทั้งนี้ นอกจากพระมหากรุณาธิคุณอันยิ่งใหญ่ ของพระมหากษัตริย์ทุกรัชกาลที่ทรงอุปถัมภ์ในกิจการต่างๆ ของพระอาราม แล้ว ปวงชนชาวไทยยังมีจิตศรัทธาในการบริจาคทรัพย์เพื่อร่วมทำ นุบำ รุง วัดโพธิ์ ให้ยืนยงเป็นวัดคู่พระนครสืบไป ยังผลให้วัดโพธิ์ ไม่โรยร้างรุ่งเรือง ดังเมืองสวรรค์ และจะอยู่ในความทรงจำของทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ สืบไป

25464 VIEW | 07/12/2561
วัดพระเชตุพน


ตำราการแพทย์แผนไทยวัดโพธิ์

ตำราการแพทย์แผนไทยวัดโพธิ์

ตำราการแพทย์แผนไทยวัดโพธิ
โดย.. ก่องแก้ว วีระประจักษ
ผู้เชี่ยวชาญด้านภาษาโบราณ ข้าราชการบำ นาญ กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม


   ตำราการแพทย์แผนไทยวัดโพธิ์ เป็นวิชาการแพทย์แผนไทยที่เป็น ความรู้สืบทอดมาแต่โบราณ สันนิษฐานว่าเมื่อครั้งสมัยอยุธยาในยามที่ บ้านเมืองมีศึกสงคราม ตำราการแพทย์แผนไทยคงจะสูญหายกระจัดกระจาย ไปไม่น้อย ต่อมาเมื่อถึงสมัยธนบุรี ภายหลังจากที่สมเด็จพระเจ้าตากสิน มหาราช (พ.ศ. ๒๓๑๐ - ๒๓๒๕) ทรงกอบกู้เอกราชแล้ว ได้ทรงฟื้นฟู บ้านเมืองในทุกด้าน ในส่วนที่เกี่ยวกับตำ ราการแพทย์แผนไทยก็ทรง สนพระทัยโปรดให้ค้นคว้า รวบรวม และฟื้นฟูบูรณาการขึ้นเช่นเดียวกัน การรวบรวมวิชาการแพทย์แผนไทยจึงได้ถ่ายทอดสืบต่อกันมา ถึงสมัยรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช (พ.ศ. ๒๓๒๕ - ๒๓๕๒) พระปฐมบรมกษัตริย์แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ ทรง ตระหนักถึงคุณค่าและความสำ คัญของวิชาการแพทย์แผนไทยดังกล่าว จึงโปรดเกล้าฯ ให้รวบรวมตำ รายาจารึกลงบนแผ่นศิลา และปั้นรูปฤๅษี ดัดตนประดิษฐานไว้ที่วัดโพธิ์ เมื่อ พ.ศ.๒๓๓๑

ถึงรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (พ.ศ. ๒๓๖๗ - ๒๓๙๔) โปรดเกล้าฯ ให้ประชุมนักปราชญ์ราชบัณฑิตในวิชาการสาขา ต่างๆ ค้นคว้า รวบรวม ตรวจสอบและคัดสรรตำ ราวิชาการต่างๆ ให้ ถูกต้อง แล้วให้จารึกลงบนแผ่นศิลาประดิษฐานไว้ตามเสนาสนะภายในวัดโพธิ์ เพื่อให้อาณาประชาราษฎร์ได้ศึกษาเรียนรู้อย่างทั่วถึง เฉพาะเรื่อง ที่เกี่ยวกับตำ ราการแพทย์แผนไทยนั้น เป็นตำ ราที่จารึกไว้อย่างมีระบบ ในที่นี้จะกล่าวถึง ตำ รายา และตำ รานวด

ตำรายา เป็นตำ รายาที่ว่าด้วยการบำ บัดรักษาโรคต่างๆ ซึ่งหมอยา หรือผู้มีความรู้ในตำ รายาเหล่านั้นต้องสาบานตัวว่ายาขนานนั้นๆ ตนเคยใช้ รักษาโรคมาแล้ว และได้ผลดีจริง ต่อจากนั้นพระยาบำ เรอราชแพทย์ ซึ่ง เป็นแพทย์หลวงประจำ ราชสำ นักในขณะนั้น จะตรวจสอบอีกครั้งหนึ่งก่อน ที่จะนำ มาจารึก จะเห็นได้ว่า วิชาแพทย์แผนไทยเป็นเรื่องที่ผู้ศึกษาต้องมี ความละเอียดถี่ถ้วน มีความรู้จริง เพื่อให้การบำ บัดรักษาบังเกิดผลให้ คนไข้หายจากอาการของโรค เนื้อหาของเรื่องที่จารึก จึงครอบคลุมทุกเรื่อง ที่เกี่ยวกับการรักษาโรค คือ

๑. ตำราที่ว่าด้วยสมุฏฐานของโรค หมายถึง ที่ตั้ง หรือที่แรกเกิด ของโรค ซึ่งแพทย์ต้องรู้ว่าโรคเกิดจากสมุฏฐานต่างๆ ๕ สมุฏฐาน คือ
ธาตุสมุฏฐาน หมายถึง ที่เกิดแห่งโรคตามอาการของธาตุทั้งสี่ อันมีอยู่ในร่างกาย ได้แก่ ปถวีธาตุ (ธาตุดิน) อาโปธาตุ (ธาตุนํ้า) วาโยธาตุ (ธาตุลม) และเตโชธาตุ (ธาตุไฟ) หากธาตุทั้งสี่พิการ หรือผันแปรผิดปกติ ก็จะเป็นสมุฏฐานของโรคต่างๆ ตามกองธาตุเหล่านั้น
อุตุสมุฏฐาน หมายถึง ฤดูกาลที่มีอยู่ตามธรรมชาติ เมื่อฤดูกาล เปลี่ยนแปลงไป อากาศสัมผัสกับร่างกาย เป็นผลให้ธาตุในร่างกาย แปรเปลี่ยนไปตามฤดูกาลนั้น หากธาตุในร่างกายปรับไม่ทันกับอากาศ ที่มากระทบภายนอก ก็เป็นสมุฏฐานให้มีอาการเจ็บไข้ได้
อายุสมุฏฐาน หมายถึง การกำ หนดอายุเป็น ๓ ช่วงวัย คือ ปฐมวัย (นับตั้งแต่แรกเกิดจนอายุ ๑๖ ปี) มัชฌิมวัย (นับตั้งแต่อายุพ้น ๑๖ ปีขึ้นไปจนถึง ๓๒ ปี) ปัจฉิมวัย (นับตั้งแต่อายุพ้น ๓๒ ปีเป็นต้นไป) แต่ละวัยจะมีสมุฏฐานจากธาตุต่างๆ ในร่างกายแตกต่างกัน
กาลสมุฏฐาน หมายถึง เวลาในแต่ละวันทำ ให้เกิดโรคขึ้น เพราะธาตุในร่างกายไม่เป็นไปตามกาลเวลาปกตินั้น

  ประเทศสมุฏฐาน หมายถึง สถานที่ หรือภูมิประเทศในแต่ละ ภูมิภาคของโลก ย่อมมีสภาวะอากาศตามธรรมชาติที่แตกต่างกัน บุคคล เคยอยู่ในประเทศที่มีอากาศร้อนก็ดี หนาวก็ดี หรือในพื้นที่มีฝนตกตลอดปี ก็ดี ธาตุสมุฏฐานอันมีอยู่ในร่างกายก็คุ้นเคยกับสภาพภูมิอากาศของประเทศ นั้นๆ เป็นปกติ หากเปลี่ยนมาอยู่ในประเทศที่มีอากาศแตกต่างออกไป เมื่อยังไม่คุ้นเคยก็ย่อมจะเจ็บไข้เกิดโรคขึ้นได้
๒. ตำราที่ว่าด้วยโรคต่างๆ และยารักษาโรคที่เกี่ยวกับแม่และ เด็ก เริ่มตั้งแต่หญิงแรกมีครรภ์จนถึงคลอดทารกแล้ว และโรคของเด็ก ตั้งแต่แรกคลอดจากครรภ์มารดาจนถึงอายุ ๑ ขวบ มีโรคแม่ซื้อประจำวันเกิด ของเด็ก โรคซาง ลำ บองราหู เป็นต้น
๓. ตำราที่ว่าด้วยชื่อยา ชื่อโรค อันเกิดจากสมุฏฐานทั้งห้า เช่น โรคไข้ชนิดต่างๆ โรคเลือด โรคลม โรคฝีประเภทต่างๆ โรคภายในร่างกาย และผิวกาย เป็นต้น
๔. ตำราที่ว่าด้วยสรรพคุณยา มีเนื้อหาระบุถึงคุณสมบัติของ สมุนไพรที่ใช้เป็นเครื่องยาสำ หรับปรุงเป็นยารักษาอาการโรค ซึ่งแต่ละอย่าง มีคุณสมบัติ และสรรพคุณทางยาแตกต่างกัน สมุนไพรที่เป็นเภสัชวัตถุ มี ๓ จำ พวก ได้แก่ พืชสมุนไพร สัตว์สมุนไพร และแร่ธาตุสมุนไพร

พืชสมุนไพร แพทย์ต้องรู้จักส่วนต่างๆ ของพืชว่า เป็นพืชชนิดใด มีรส สี กลิ่น รูปอย่างใด เช่น ราก เปลือก ใบ ดอก เกสร ผล แก่น ยาง เมล็ด กระพี้ เง้า กาฝาก เป็นต้น
สัตว์สมุนไพร แพทย์ต้องรู้จักอวัยวะต่างๆ ของสัตว์ เช่น เขา กระดูก กราม หรือฟัน มูล เนื้อ หนัง สมอง ดี เลือด เปลือก เป็นต้น
แร่ธาตุสมุนไพร แพทย์ต้องรู้จักลักษณะรูป สี กลิ่น รส ชื่อ และรู้วิธี ทำ ให้ฤทธิ์อ่อนลง เช่น การสะตุสนิมเหล็กเพื่อให้พิษลดลง หรือหมดไป เพื่อใช้ เป็นสมุนไพรที่มีฤทธิ์ทางยา เป็นต้น

ตำรายาแต่ละขนานจะมีวิธีการปรุง และการนำ ไปใช้หลายวิธี ดังนี้
๑. ยาที่ปรุงแล้วตำ รวมกันให้ละเอียดเป็นผงละลายกับนํ้า หรือ นํ้ากระสายดื่มกิน ประสมกับนํ้า หรือนํ้าผึ้ง หรือนํ้ากระสายอื่นแล้วปั้นเป็น ลูกกลอน หรือเป็นเม็ดกลืนกิน ใส่กล้องเป่าทางจมูก หรือในลำคอ เป็นต้น
๒. ยาที่ปรุงแล้วสับเป็นท่อน เป็นชิ้น บรรจุลงในหม้อเติมนํ้า ต้มเคี่ยว รินแต่นํ้ากินเป็นยาต้ม ถ้าจะใช้เป็นยาดองก็นำ เครื่องยาที่ปรุงแล้วแช่ด้วย สุรา นํ้า หรือนํ้าผึ้ง แล้วรินแต่นํ้ากิน
๓. ยาที่ปรุงแล้วนำ ไปเผา หรือคั่วให้ไหม้ แล้วแช่นํ้ารินแต่นํ้ากิน หรือบดให้ละเอียดเป็นผงละลายนํ้ากระสายต่างๆ กิน
๔. ยากัดด้วยเหล้า หรือแอลกอฮอล์ แล้วหยดลงในนํ้า หรือเติมนํ้ากิน
๕. ยาที่ปรุงแล้วนำ ไปกลั่นเอาแต่ไอนํ้ายา แล้วกินนํ้ายาที่กลั่นได้
๖. ยาที่ปรุงแล้วห่อผ้าบางๆ บรรจุลงในกลัก แล้วใช้ดม หรือสูด เอาแต่กลิ่น
๗. ยาที่ปรุงแล้วหุงด้วยนํ้ามัน ใช้นํ้ามันที่หุงได้ใส่กล้องเป่าบาดแผล เป็นต้น
๘. ยาที่ปรุงแล้วทำ เป็นยาทา ยาเหน็บ ยาพอก ยาปิดตามผิวกาย ใส่ผ้าห่อทำ เป็นลูกประคบ ใส่มวนเป็นบุหรี่สูบเอาควัน นำ ไปติดไฟให้เกิด ควัน แล้วใช้ควันใส่กล้องเป่าบาดแผลและฐานฝี นำ ไปต้มเอานํ้าใช้อม หรือบ้วนปาก อาบ แช่ ชะล้าง หรือต้มใช้ไอรม หรือ อบ หรือใช้เป็นยาสูบ ยาสวน เป็นต้น

  ตำรานวด เป็นตำ ราแบบแผนวิธีรักษาโรคด้วยการใช้มือ หรือนิ้วมือ กดไปตามเส้นเอ็นต่างๆ ของร่างกาย เพื่อให้คลายจากอาการโรค ในแผ่น จารึกจะมีภาพรูปร่างคน ทั้งด้านหน้า และด้านหลัง พร้อมทั้งมีเส้นโยง บอกจุดตำแหน่งของเส้นเอ็นในร่างกายที่กำ หนดเรียกว่า แผน ถ้าเป็นภาพ ด้านหน้าเรียกว่า แผนหงาย ภาพด้านหลังเรียกว่า แผนควํ่า แผนเส้น เหล่านี้ระบุตำ แหน่งจุดต่างๆ ที่มีความสัมพันธ์กัน ตลอดจนระบุชื่อเส้น และจุดที่จะแก้ไขให้บรรเทาอาการโรคต่างๆ ด้วย
  แผนเส้นดังกล่าวข้างต้น เป็นแบบแผนการรักษาที่หมอนวดนำ มา ใช้เป็นหลัก ในการนวดเพื่อบำ บัดรักษาอาการโรคต่างๆ เช่น นวดให้ เลือดลมในร่างกายไหลเวียน หรือบรรเทาอาการปวดเฉพาะที่ เช่น ไหล่ติด เข่าขัด หรือนวดเพื่อให้หายปวดเมื่อยแขน ขา คลายความเจ็บปวด คลายความเครียด เป็นต้น
  จารึกตำ รานวดที่วัดโพธิ์ เป็นตำ ราที่หมอนวดผู้ศึกษาเล่าเรียน นำ มาใช้ได้ผลดี มีประสิทธิภาพ รักษาให้หายจากอาการโรคได้จริง จึงได้รับ ความนิยมอย่างกว้างขวาง เป็นที่ยอมรับและแพร่หลายรู้จักกันดีทั้งชาวไทย และชาวต่างประเทศ
  ต่อมาวัดโพธิ์ได้จัดตั้งโรงเรียนแพทย์แผนโบราณขึ้น ใน พ.ศ. ๒๕๐๔ การศึกษาวิชาการแพทย์แผนไทยจึงได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก มีผู้ ศึกษาเล่าเรียนสำ เร็จเป็นหมอยา หมอนวด โดยมีประกาศนียบัตรประกอบ โรคศิลป์ให้ด้วย วิชาการแพทย์แผนไทยจึงเฟื่องฟูขึ้นอีกครั้งหนึ่ง ปีต่อมา วัดโพธิ์ ก็ได้ขยายการเรียนการสอนโดยมอบให้โรงเรียนนวดแผนโบราณ วัดพระเชตุพน (วัดโพธิ์) สอนวิชานวด และรับนวดให้แก่ผู้ป่วยทั่วไป โดยเหตุนี้วิชานวดวัดโพธิ์ หรือหมอนวดวัดโพธิ์ จึงเป็นที่รู้จักและได้รับ ความนิยมสืบมาจนถึงปัจจุบัน


๏ ผนังใหญ่หลังใต้กอป    การรจิต รูปเฮย
แผนภาพสกนธ์กายกุมาร   แม่ซื้อ
คอสองแหล่งเฉลียงลิขิต   คนแปลก เพศพ่อ
ลบองบอกออกชื่ออื้อ      เอิกอ้างราหูฯ
๏ โอสถจานแจกสร้าง     เศลา ลายแฮ
ตราติดทั่วสถานดู          ดื่นด้าว
เลบงโคลงฉลักเลขา       ขานบอก ความเอย
เล็งแผนผาอคร้าวล้วน     เล่ห์กัน ฯ

โคลงดั้นเรื่องปฏิสังขรณ์วัดพระเชตุพน
พระนิพนธ์สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส
  


48794 VIEW | 07/12/2561
วัดพระเชตุพน


ฤๅษีดัดตน : สุขอนามัยไทย สุขอนามัยโลก

ฤๅษีดัดตน : สุขอนามัยไทย สุขอนามัยโลก

ฤๅษีดัดตน : สุขอนามัยไทย สุขอนามัยโลก 
โดย..ก่องแก้ว วีระประจักษ
ผู้เชี่ยวชาญด้านภาษาโบราณ ข้าราชการบำ นาญ กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม

    ฤๅษีดัดตนเป็นเรื่องที่ได้รับความสนใจและรู้จักกันเป็นอย่างดีของ ชาวไทยและชาวต่างประเทศอย่างกว้างขวาง เนื่องจากเป็นวิชาการด้าน การรักษาสุขอนามัย ด้วยการแสดงท่าเคลื่อนไหวร่างกายในอิริยาบถที่ส่ง ผลให้ร่างกายบรรเทาจากอาการโรคต่างๆ

    วิชาการฤๅษีดัดตนนี้ ปรากฏหลักฐานเป็นครั้งแรกในรัชกาล พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ ๑ แห่ง พระบรมราชจักรีวงศ์ (พ.ศ.๒๓๒๕-๒๓๕๒) เมื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้บูรณปฏิสังขรณ์วัดโพธิ์ นับแต่เมื่อ พ.ศ. ๒๓๓๑ ใช้เวลาทั้งสิ้น ๗ ปี ๕ เดือน ๒๘ วัน จึงแล้วเสร็จ พระราชทานนามว่า วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาวาศ (ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ ๔ ทรงแปลงสร้อยนามวัดเป็น วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม) และโปรดเกล้าฯ ให้เป็นพระอารามหลวง ประจำ รัชกาล ในการนี้ มีพระราชดำ ริโปรดเกล้าฯ ให้จารึกเรื่องทรงสร้าง วัดพระเชตุพน ครั้งรัชกาลที่ ๑ เป็นหลักฐานไว้ พร้อมทั้งโปรดให้รวบรวม ตำ รายา และปั้นรูปฤๅษีแสดงท่าดัดตน (ปัจจุบันไม่ปรากฏหลักฐานแล้ว) เพื่อให้ราษฎรศึกษาเล่าเรียน และใช้รักษาโรค

    ต่อมาในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ (พ.ศ. ๒๓๖๗ - ๒๓๙๔) วัดโพธิ์ชำ รุดทรุดโทรมมาก จึงทรงพระกรุณา โปรดเกล้าฯ ให้บูรณปฏิสังขรณ์ใหม่ทั้งพระอาราม เมื่อ พ.ศ. ๒๓๗๕ ในการนี้ โปรดให้พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นณรงค์หริรักษ์ พระราชโอรสในรัชกาลที่ ๑ (พระนามเดิม พระองค์เจ้าดวงจักร) ซึ่งทรงกำกับกรมช่างหล่อ เป็นแม่กองเกณฑ์ช่างหล่อรูปฤๅษี ด้วยสังกะสีผสมดีบุกแล้วเคลือบ (เรียกว่า ชิน) เป็นฤๅษีแสดงท่าดัดตนต่างๆ จำ นวน ๘๐ ท่า แต่เป็นฤๅษี ๘๒ ตน เพราะมี ๒ ท่า ที่หล่อเป็นฤๅษี ๒ ตน ช่วยกันดัดกาย เมื่อแล้วเสร็จนำ ไป ประดิษฐานตามศาลารายรอบพระอาราม ซึ่งศาลารายแต่ละหลังก่อแท่น ขึ้นที่เฉลียงด้านใน เพื่อตั้งรูปฤๅษีหลังละ ๔ - ๕ ตน พร้อมทั้งโปรดให้จารึก โคลงภาพฤๅษีดัดตนประดับไว้ตามผนังศาลารายด้วย โคลงแต่ละบทนั้น ระบุชื่อฤๅษีดัดตน ท่าดัดตนและคุณประโยชน์ต่างๆ ของท่าดัดตนทุกท่า เพื่อเพิ่มพูนความรู้ความเข้าใจแก่ราษฎรผู้ใฝ่รู้ในด้านสุขอนามัย นับเป็น พระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นพ้นแก่ปวงชนชาวไทย นอกจากนี้ พระบาทสมเด็จ พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวยังได้ทรงพระราชนิพนธ์โคลงภาพฤๅษีดัดตน ร่วมกับพระบรมวงศานุวงศ์ เสนาบดี พระภิกษุ และนักปราชญ์ราชบัณฑิต นับเป็นงานวรรณกรรมที่มีคุณค่าทางด้านอักษรศาสตร์เป็นอย่างยิ่ง ที่สำคัญ ยังโปรดให้คัดโคลงเหล่านั้นลงในหนังสือสมุดไทย พร้อมกับเขียนรูปฤๅษี แสดงท่าดัดตนเป็นแบบแผนไว้ ดังปรากฏโคลงบานแพนก ความตอนหนึ่งว่า

๏ ลุจุลศักราชพ้น     พันมี เศศเฮย
ร้อยกับเก้าสิบแปดปี  วอกตั้ง
นักษัตรอัษฐศกรวี     วารกติก มาศแฮ
ศุกปักษย์ห้าคํ่าครั้ง   เมื่อไท้บรรหารฯ

๏ ให้พระประยุรราชผู้  เป็นกรม หมื่นแฮ
ณรงค์หริรักษ์รดม      ช่างใช้
สังกสีดิบุกผสม        หล่อรูป
นักสิทธิ์แปดสิบให้    เทอดถ้าดัดตน ฯ

๏ เสรจ์เขียนเคลือบภาคย์พื้น ผิวกาย
ตั้งทุกศาลาราย                รอบล้อม
อาวาสเชตวันถวาย            นามทั่ว องค์เอย
จาฤกแผ่นผาพร้อม           โรคแก้หลายกลฯ

   ปัจจุบันยังมีต้นฉบับหนังสือสมุดไทยเก็บรักษาอยู่ที่กลุ่มหนังสือ ตัวเขียนและจารึก สำ นักหอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร ทั้งนี้ เอกสารต้นฉบับ เป็นเส้นสีและดินสอขาว มีภาพประกอบ ปรากฏหลักฐานที่บานแพนก ระบุชื่อช่างเขียนว่า ขุนรจนามาศ (ช่างเขียนซ้าย) และหมื่นชำ นาญรจนา (ช่างเขียนขวา) และโปรดเกล้าฯ ให้อาลักษณ์ชื่อ ขุนวิสุทธิอักษร คัดโคลง กำ กับไว้เขียนเป็นเส้นรง แล้วเสร็จเมื่อวันแรม ๑๑ คํ่า เดือน ๗ ปีจอ สัมฤทธิศก จ.ศ.๑๒๐๐ ตรงกับวันจันทร์ที่ ๑๘ มิถุนายน พ.ศ.๒๓๘๑

กล่าวได้ว่าในสมัยโบราณ ฤๅษีมีความสำ คัญในฐานะที่เป็นครู ผู้สั่งสอนสรรพวิทยาการต่างๆ รวมทั้งยังเป็นแพทย์ที่ให้ความรู้ด้านอนามัย ด้วย สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ มีพระวินิจฉัยเกี่ยวกับเรื่องฤๅษีในหนังสือ สาส์นสมเด็จ เล่ม ๒๑ ความตอนหนึ่งว่า

...แต่ถ้าถึงเรื่องหมอๆ เข้าแล้วจะต้องเป็นฤษี จนทำ ให้ สดุดใจต้องไปพลิกพจนานุกรมสังสกฤตสอบได้ความในนั้น ครูหมอเรียกว่า “ไวทยนาถ” คือองค์พระศิวะนั่นเอง… นอกจากนี้ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำ รงราชานุภาพ ทรงอธิบายถึงฤๅษีว่าเป็นผู้บำ เพ็ญตบะ คือเว้นจากการพูดและนั่งนิ่ง ภาวนาอย่างเดียวตั้งแต่เช้าจนคํ่า จึงเป็นมูลเหตุที่ทำ ให้ฤๅษีต้องดัดตน ปรากฏหลักฐานจากหนังสือ สาส์นสมเด็จ เล่ม ๒๑ ความตอนหนึ่งว่า เค้ามูลของฤๅษีดัดตนคือ ลักษณะบำ เพ็ญตะบะนั้น คงจะสมาทาน - นั่ง หรือ ยืน - ภาวนาอยู่วันยังคํ่า การนั่ง หรือยืนอยู่อย่างเดียวตลอดวัน ย่อมปวดเมื่อยตัวเป็น ธรรมดา เพราะฉะนั้น จึงเกิดมีวิธีดัดตนแก้อาการต่างๆ อันเกิดทุพลภาพแต่บำ เพ็ญตะบะ และดัดตนในเวลาคํ่า บำ เพ็ญตะบะในเวลากลางวัน สลับกัน... เป็นตำรามาแต่เดิม


ปัจจุบันรูปฤๅษีดัดตนส่วนหนึ่งชำ รุดสูญหายไปตามกาลเวลา ยังคง เหลือรูปฤๅษีดัดตนประมาณ ๒๐ ตน เท่านั้น และได้ย้ายไปประดิษฐาน อยู่ที่เขามอที่ก่อขึ้นเรียงรายตามรอบชาลา อย่างไรก็ตาม สิ่งหนึ่งที่อนุชน รุ่นหลังควรตระหนักคือ ภูมิปัญญาของบรรพชนไทยที่มุ่งหมายให้ความรู้ และประโยชน์ต่อส่วนรวมในด้านสุขภาพอนามัย ซึ่งเป็นวิธีการบำ บัดโรค อย่างหนึ่งที่มีผลทำ ให้ร่างกายแข็งแรง ไม่เจ็บป่วย จนเป็นที่ประจักษ์ใน สังคมโลกปัจจุบัน พระราชดำริเกี่ยวกับฤๅษีดัดตน จึงนับเป็น “โอสถทาน” ที่มีคุณประโยชน์ทั้งต่อชาวไทยและชาวต่างประเทศ สมดังพระราชประสงค์ ในพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวโดยแท้

๏ เป็นประโยชน์นรชาติสิ้น สบสถาน
เฉกเช่นโอสถทาน          ท่านให้
พูนเพิ่มพุทธสมภาร         สมโพธิ์ พระนา
ประกาศพระเกียรติยศไว้    ตราบฟ้าดินศูนย์ ฯ

23234 VIEW | 07/12/2561
วัดพระเชตุพน



"ยอมรับคุกกี้" เพื่อให้เว็บไซต์นำเสนอประสบการณ์ที่ดีขึ้นสำหรับคุณ

เว็บไซต์วัดโพธิ์ได้จัดทำนโยบายคุ้มครองความเป็นส่วนตัวฉบับนี้ขึ้นเพื่อคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ใช้บริการทุกท่าน ( Personal information ) ที่ติดต่อเข้ามายังเว็บไซด์วัดโพธิ์ อ่านเพิ่มเติม