HOME / Article / พระราชประวัติและพระราชกรณียกิจใน พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช

พระราชประวัติและพระราชกรณียกิจใน พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช


148376 VIEW | 31 มี.ค. 63
วัดพระเชตุพน


พระราชประวัติและพระราชกรณียกิจใน

พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช



พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช พระปฐมบรม กษัตริย์แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ผู้ทรงสถาปนาพระบรมราชจักรีวงศ์ พระนาม เดิมว่า ด้วง หรือ ทองด้วง พระราชบิดาคือ สมเด็จพระปฐมบรมมหาชนก พระนามเดิมว่า ทองดี รับราชการเป็นเสมียนตรากรมมหาดไทยใน กรุงศรีอยุธยา มีบรรดาศักดิ์เป็นพระพินิจอักษร ส่วนพระราชมารดา พระนามเดิมว่า หยก หรือ ดาวเรือง เสด็จพระบรมราชสมภพ เมื่อวันพุธ เดือน ๔ แรม ๕ คํ่า ปีมะโรงอัฐศก จ.ศ. ๑๐๙๘ ตรงกับวันที่ ๒๐ มีนาคม พ.ศ. ๒๒๗๙ ในรัชกาลสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ (พ.ศ.๒๒๗๕ - ๒๓๐๑) มีสมเด็จพระเชษฐภคินี พระเชษฐา และสมเด็จพระอนุชาธิราชร่วม พระชนกชนนี รวม ๕ พระองค์ คือ ๑. สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยาเทพสุดาวดี ๒. พระเจ้ารามณรงค์ ๓. สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระศรีสุดารักษ์ ๔. พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ๕. สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท เมื่อทรงเจริญวัยขึ้น ได้ทรงถวายตัวเข้ารับราชการเป็นมหาดเล็ก ในสมเด็จเจ้าฟ้าอุทุมพร กรมขุนพรพินิต ครั้นพระชนมายุได้ ๒๑ พรรษา ทรงผนวชที่วัดมหาทลาย เป็นเวลา ๑ พรรษา หลังจากทรงลาสิกขาแล้ว ทรงกลับเข้ารับราชการเป็นมหาดเล็กหลวงอีกครั้ง และเจริญก้าวหน้า ในหน้าที่ราชการตามลำดับ เมื่อ พ.ศ. ๒๓๐๔ เวลานั้นพระชนมายุ ๒๕ พรรษา ทรงรับราชการ ตำ แหน่งหลวงยกกระบัตร อยู่ที่เมืองราชบุรี และต่อมาได้ทรงเสกสมรส กับธิดาคหบดี ผู้มีภูมิลำ เนาอยู่ที่ตำ บลอัมพวา แขวงเมืองสมุทรสงคราม ชื่อ นาก กาลต่อมาในสมัยรัชกาลที่ ๑ โปรดเกล้าฯ สถาปนาขึ้นดำ รงตำแหน่ง สมเด็จพระบรมราชินีพระองค์แรกแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ (ถึงรัชกาลที่ ๒ โปรดเกล้าฯ สถาปนาเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระบรมราชชนนีพันปีหลวง เป็นกรมสมเด็จพระอมรินทรามาตย์ และในสมัยรัชกาลที่ ๖ โปรดเกล้าฯ ให้ประกาศเฉลิมพระเกียรติเป็นสมเด็จพระอมรินทรา บรมราชินี) ครั้งนั้น พระองค์ได้ประทับอยู่ที่เมืองราชบุรี จนกระทั่งกรุงศรีอยุธยาเสียแก่พม่า ใน พ.ศ.๒๓๑๐ ต่อมาเมื่อสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงกอบกู้เอกราช และสถาปนากรุงธนบุรีเป็นราชธานีแห่งใหม่ จึงเสด็จเข้ามารับราชการใน กรุงธนบุรี เมื่อ พ.ศ. ๒๓๑๑ รับพระราชทานบรรดาศักดิ์ที่พระราชวรินทร์ ในกรมพระตำ รวจหลวง ได้รับความไว้วางพระราชหฤทัยให้โดยเสด็จ ในราชการสงคราม เพื่อรวบรวมบ้านเมืองให้เป็นปึกแผ่นหลายครั้ง ในการนี้ โปรดเกล้าฯ พระราชทานบำ เหน็จความชอบเลื่อนบรรดาศักดิ์สูงขึ้น โดยลำดับ คือ เป็นพระยาอภัยรณฤทธิ์ จางวางกรมพระดำรง พระยายมราช ว่าที่สมุหนายก เจ้าพระยาจักรี ที่สมุหนายก และสมเด็จเจ้าพระยา มหากษัตริย์ศึก ได้รับพระราชทานเครื่องยศอย่างเจ้าต่างกรม ต่อมา พ.ศ. ๒๓๒๔ เกิดเหตุจลาจลขึ้นในกรุงธนบุรี เหตุการณ์ ดังกล่าวทำ ให้สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก ซึ่งยกทัพไปปราบจลาจลที่ เมืองเขมรต้องยกทัพกลับกรุงธนบุรีทันที ภายหลังจากที่ปราบปรามการ จลาจลให้บ้านเมืองสงบเรียบร้อยแล้ว มุขอำ มาตย์ราชมนตรีและราษฎร ทั้งหลาย ก็พร้อมกันอัญเชิญสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกขึ้นเถลิงถวัลย ราชสมบัติเป็นพระมหากษัตริย์สืบไป เมื่อวันที่ ๖ เมษายน พ.ศ.๒๓๒๕ หลังจากที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชเสด็จ ขึ้นครองราชสมบัติแล้ว มีพระราชดำ ริที่จะฟื้นฟูพระราชอาณาจักรใน ทุกด้าน ให้เจริญรุ่งเรืองเหมือนเมื่อครั้ง “บ้านเมืองดี” ในการนี้ มีพระราชดำ ริ ว่าฝั่งตะวันออกของแม่นํ้าเจ้าพระยามีลักษณะภูมิประเทศเป็นชัยภูมิดีกว่า ตะวันตก ทั้งยังป้องกันข้าศึกและขยายพระนครได้สะดวก จึงโปรดเกล้าฯ ให้ย้ายพระนครมาทางฝั่งตะวันออกของแม่นํ้าเจ้าพระยา เยื้องกับกรุงธนบุรี พระนครเดิม และโปรดให้พระยาธรรมาธิกรณ์ (บุญรอด บุณยรัตพันธุ์) กับพระยาวิจิตรนาวีเป็นแม่กองสร้างพระนครใหม่ ทรงประกอบพิธียกเสา หลักเมืองเมื่อวันอาทิตย์ เดือน ๖ ขึ้น ๑๐ คํ่า ปีขาลจัตวาศก จ.ศ. ๑๑๔๔ ตรงกับวันที่ ๒๑ เมษายน พ.ศ. ๒๓๒๕ และโปรดให้มีการพระราชพิธี ปราบดาภิเษกโดยสังเขป เมื่อวันที่ ๑๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๓๒๕ จากนั้น จึงโปรดให้ดำ เนินการสร้างพระบรมมหาราชวัง พระราชวังบวรสถานมงคล และพระนครต่อไป การก่อสร้างพระนครครั้งนั้น ได้มีการเกณฑ์ไพร่หลวงและไพร่เลก หัวเมืองให้ทำอิฐขึ้นใหม่บ้าง และให้รื้อเอาอิฐกำแพงที่กรุงศรีอยุธยาลงมา บ้าง เพื่อสร้างกำ แพงพระนคร นอกจากนี้ โปรดให้สร้างป้อม ประตู ปราสาทราชมณเฑียร และวัดพระศรีรัตนศาสดาราม เพื่อเป็นที่ประดิษฐาน พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร (พระแก้วมรกต) รวมทั้งเป็นที่ประชุม ข้าทูลละอองธุลีพระบาท และประกอบพระราชพิธีถือนํ้าพระพิพัฒน์สัตยา การก่อสร้างพระนครแห่งใหม่แล้วเสร็จเมื่อ พ.ศ. ๒๓๒๘ โปรดเกล้าฯ ให้มีการพระราชพิธีสมโภชเฉลิมฉลองพระนคร พร้อมกับโปรดให้มีการ พระราชพิธีบรมราชาภิเษก ครั้งที่ ๒ ให้สมบูรณ์ตามโบราณราชประเพณี พระราชทานนามพระนครว่า “กรุงเทพมหานคร บวรรัตนโกสินทร์ มหินทรา ยุทธยา มหาดิลกภพ นพรัตนราชธานีบุรีรมย์ อุดมราชนิเวศน์มหาสถาน อมรพิมานอวตารสถิต สักกะทัตติยวิษณุกรรมประสิทธิ์” (ต่อมาในสมัย รัชกาลที่ ๔ ทรงแปลงสร้อยคำ ว่า “บวรรัตนโกสินทร์” เป็น “อมรรัตนโกสินทร์”) พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชทรงปฏิบัติ พระราชกรณียกิจในการทำ นุบำ รุงบ้านเมืองให้เจริญรุ่งเรืองและดำ รงอยู่ อย่างมั่นคง โดยเฉพาะในด้านราชการสงครามนั้น ต้องทรงทำศึกสงคราม ป้องกันรักษาพระราชอาณาจักร และขยายพระราชอาณาเขตหลายครั้ง ด้านการจัดระเบียบการปกครองภายในพระราชอาณาจักร ทรง ทำ นุบำ รุงบ้านเมืองโดยยึดแบบอย่างแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยาเป็นสำ คัญ กล่าวคือ แบ่งเป็นฝ่ายทหารและพลเรือน มีอัครมหาเสนาบดี เรียกว่า สมุหนายก ถือตราพระราชสีห์ บังคับบัญชากรมมหาดไทย ดูแลหัวเมือง ฝ่ายเหนือ และสมุหพระกลาโหม ถือตราพระคชสีห์ บังคับบัญชากรม พระกลาโหม ดูแลหัวเมืองฝ่ายใต้ ส่วนกรมท่า ถือตราบัวแก้ว ดูแลหัวเมือง ฝ่ายตะวันตก แล้วจัดการปกครองแบบจตุสดมภ์ คือ เวียง วัง คลัง นา ด้านกฎหมาย ทรงปรับปรุงแก้ไขกฎหมาย เพื่อใช้เป็นหลักในการ ควบคุมจัดระเบียบสังคม โปรดให้ข้าราชการที่มีความรู้ในราชประเพณี และการบริหารราชการแผ่นดิน ร่วมกันชำ ระและปรับปรุงวางระเบียบ แบบแผนในการปฏิบัติราชการไว้เป็นหลักฐาน รวมทั้งชำระพระราชกำ หนด กฎหมายที่ยึดถือปฏิบัติกันมาแต่ครั้งโบราณให้ถูกต้อง แล้วจัดหมวดหมู่ ให้อาลักษณ์ชุบเส้นหมึกไว้ ๓ ชุด แต่ละชุดประทับตรา ๓ ดวง คือ พระราชสีห์ (มหาดไทย) พระคชสีห์ (กลาโหม) และบัวแก้ว (กรมท่า) เรียกว่า กฎหมายตราสามดวง ด้านขนบธรรมเนียมประเพณี ทรงฟื้นฟูขนบธรรมเนียมและ ราชประเพณีต่างๆ แต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา เช่น พระราชพิธีบรมราชาภิเษก พระราชพิธีโสกันต์ พระราชพิธีถือนํ้าพระพิพัฒน์สัตยา รวมทั้งทรงทำ นุ บำ รุงงานศิลปกรรมแขนงต่างๆ เป็นที่ปรากฏให้เห็นจากความงดงามของ ปราสาทราชมณเฑียรและพระอารามต่างๆ นอกจากนี้ ยังทรงริเริ่ม สร้างสรรค์งานวรรณกรรม ซึ่งมีพระราชนิพนธ์หลายเรื่อง ได้แก่ บทละคร เรื่องรามเกียรติ์ อุณรุท อิเหนา ดาหลัง และกลอนเพลงยาวนิราศเรื่อง รบพม่าที่ท่าดินแดง ทั้งนี้ยังได้ทรงส่งเสริมนักปราชญ์ราชบัณฑิตใหสร้างสรรค์งานในการแปล ชำ ระ เรียบเรียงพงศาวดารและวรรณคดีต่างๆ ตลอดรัชกาล เช่น พระราชพงศาวดารฉบับพระพนรัตน ลิลิตเพชรมงกุฎ อิเหนาคำฉันท์ สามก๊ก ไซ่ฮั่น ราชาธิราช ไตรโลกวินิจฉยกถา ฯลฯ ด้านศาสนา ทรงฟื้นฟูพระพุทธศาสนา เพื่อให้เป็นหลักยึดเหนี่ยว จิตใจของประชาชน ในการนี้ โปรดให้มีการสังคายนาพระไตรปิฎก โดย สมเด็จพระสังฆราชทรงเลือกพระราชาคณะที่มีความรู้ ๒๑๘ รูป ราชบัณฑิต ๓๒ คน ร่วมกันสังคายนา ณ วัดนิพพานาราม ซึ่งต่อมาคือ วัดมหาธาตุ ยุวราชรังสฤษฎิ์ จากนั้นพระราชทานพระไตรปิฎกแก่พระอารามหลวง และพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้วัดต่างๆ คัดลอกเก็บไว้ นอกจากนี้ ยังโปรดให้มีการจัดระเบียบพระสงฆ์ ตรากฎพระสงฆ์ เพื่อให้ประพฤติอยู่ ในพระธรรมวินัย มีพระราชศรัทธาทำ นุบำ รุงพระพุทธศาสนา โดยทรง สร้างพระอารามขึ้นใหม่ ตลอดจนบูรณปฏิสังขรณ์พระอารามต่างๆ ทั้งใน เขตพระนครและหัวเมืองหลายแห่ง เฉพาะวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (นามเดิมว่า วัดโพธาราม) ซึ่งเป็นวัดประจำ รัชกาลนั้น มีพระราชศรัทธาจะสร้างให้บริบูรณ์งดงาม ขึ้นกว่าเก่า จึงทรงบูรณปฏิสังขรณ์ใหม่ทั้งพระอาราม ใช้เวลารวม ๗ ปี ๕ เดือน ๒๘ วัน จึงเสร็จสมบูรณ์ ในการนี้ โปรดให้ตั้งการฉลองพระอาราม เมื่อวันศุกร์ เดือน ๕ แรม ๑๒ คํ่า ปีระกาตรีศก จ.ศ. ๑๑๖๓ ตรงกับ วันที่ ๑๐ เมษายน พ.ศ. ๒๓๔๔ พระราชทานนามว่า วัดพระเชตุพนวิมล มังคลาวาศ (ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ ๔ ทรงแปลงสร้อยนามใหม่เป็น วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม) พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เสด็จสวรรคต เมื่อวันพฤหัสบดี เดือน ๙ แรม ๑๓ คํ่า ปีมะเส็งเอกศก จ.ศ. ๑๑๗๑ ตรงกับวันที่ ๗ กันยายน พ.ศ. ๒๓๕๖ พระชนมพรรษา ๗๓ พรรษา ทรงดำ รงสิริราชสมบัติอยู่ ๒๘ ปี ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาล ที่ ๖ มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาวันที่ ๖ เมษายน ของทุกปี เป็นวันพระบรมราชานุสรณ์แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ เรียกว่า วันจักรี ถึง พ.ศ. ๒๔๗๕ ในโอกาสที่กรุงเทพมหานคร มีอายุครบ ๑๕๐ ปี พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๗ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ บริจาคพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์สร้างพระปฐมบรมราชานุสรณ์ คือ สะพานพระพุทธยอดฟ้าข้ามแม่นํ้าเจ้าพระยา และที่เชิงสะพานนั้น โปรด ให้ประดิษฐานพระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้า จุฬาโลกมหาราช ต่อมาในวันที่ ๒๓ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๒๕ คณะรัฐมนตรีมีมติให้ ถวายพระราชสมัญญา นามว่า พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก มหาราช และได้มีมติให้เปลี่ยนการเรียกชื่อวันจักรีในวันที่ ๖ เมษายน ของทุกปี เป็นวันพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช และวันที่ระลึกมหาจักรีบรมราชวงศ์ พ.ศ.๒๕๕๒ เนื่องในโอกาสครบ ๒๐๐ ปี แห่งวันสวรรคตในพระบาท สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช วันที่ ๗ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๒ สมาชิกราชสกุลทุกมหาสาขา คณะสงฆ์วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม และมูลนิธิ “ทุนพระพุทธยอดฟ้า” ในพระบรมราชูปถัมภ์ สำ นึกในพระมหา กรุณาธิคุณ จึงร่วมกันจัดงานบำ เพ็ญกุศลอุทิศถวายพระบาทสมเด็จพระพุทธ ยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช พระผู้ทรงพระคุณอันประเสริฐ ทรงอุทิศพระองค์ ประกอบพระราชกรณียกิจนานัปการ ด้วยพระวิริยอุตสาหะอย่างยิ่งไว้แก่ แผ่นดิน อันเป็นรากฐานและแนวทางในการพัฒนาชาติบ้านเมืองให้ยั่งยืนสืบไป


"ยอมรับคุกกี้" เพื่อให้เว็บไซต์นำเสนอประสบการณ์ที่ดีขึ้นสำหรับคุณ

เว็บไซต์วัดโพธิ์ได้จัดทำนโยบายคุ้มครองความเป็นส่วนตัวฉบับนี้ขึ้นเพื่อคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ใช้บริการทุกท่าน ( Personal information ) ที่ติดต่อเข้ามายังเว็บไซด์วัดโพธิ์ อ่านเพิ่มเติม